Sangtakieng.com
เนเฟอติติ ราชินีแห่งไอยคุปต์-ราชินีผู้สาบสูญ
ตอนที่หนึ่ง : กำเนิดเนเฟอติติ การล้มสลายของมหานครธีบและลัทธิอามุน
รวบรวม เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง

พระนางเนเฟอติติ พระนามเต็มคือเนเฟอเนฟรูอาเทน เนเฟอติติ ซึ่งปรากฏอยู่ในภาพประติมากรรมฝาผนังภายในกรอบสัญลักษณ์รูปไข่ ตามประเพณีการจารึกพระนามของกษัตริย์และราชินีของอาณาจักรไอยคุปต์โบราณ

        

                   ขอขอบคุณอย่างสูง : ภาพจากเว๊ปไซด์ thaimuslim.com

ตำนานกล่าวว่า อียิปต์ไม่เคยจะสร้างหญิงใดงามได้เท่า พระนามของพระนางหมายถึง ผู้สมบูรณ์แบบ พระสิริโฉมประดับอยู่ทุกวิหารทั่วแผ่นดิน ทว่าพระนางกลับเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์ ราวกับภาพมายา, บัดนี้นักอียิปต์วิทยาเชื่อว่าได้ค้นพบครั้งสำคัญที่สุสานของคีนทัค ในห้องลับที่หุบผากษัตริย์มีซากศพโบราณสามร่าง ในทัศนของ ดร. โจแอน เฟรตเชอร์ ร่างหนึ่งอาจไม่ใช่ใครที่ไหน นอกจากราชินีผู้สาบสูญแห่งอียิปต์-ราชินีเนเฟอติติ นั่นเอง

คัมภีร์มรณะกล่าวถึงคำสาปที่น่ากลัว หากทำให้มัมมี่สุญเสียชิ้นส่วน เทพเจ้าอาจจดจำไม่ได้ อาจทำให้ไม่สามารถก้าวสู่ชีวิตหลังความตาย ติดค้างอยู่ในโลกของคนเป็นและคนตาย มัมมี่ที่กล่าวถึงนี้นอนอยู่ที่หุบผากษัตริย์ มานานนับ ๓๐๐๐ ปี
ในปี ๑๙๑๒ กลางทะเลทรายในอียิปต์ นักโบราณคดีชาวเยอรมันได้พบวัตถุโบราณ มันคือรูปปั้นครึ่งตัวของราชินี ที่ถูกลืมเลือน การค้นพบที่น่าอัศจรรย์นี้ กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความงามไปทั่วโลก ทว่าชีวิตของพระนางคงเป็นเรื่องราวที่เต็มไปด้วยปริศนา

พระนามเนเฟอติติ ถูกนำไปแปลความหมายซ้ำแล้วซ้ำเล่า ว่าเป็นหญิงผู้งดงาม พระนางผู้เลอโฉมในราชสำนักและหญิงผู้มีค่ามากกว่าความงาม อียิปต์มีราชินีที่สำคัญหลายพระองค์ ทว่าเนเฟอติติกลับโดดเด่น ด้วยทรงมีบางสิ่งที่พิเศษ กล่าวกันว่าเธอช่างมีอำนาจที่ยิ่งใหญ่ แต่เดิม พระนางประสูติในฮาเร็มและทรงอภิเษกกับฟาโรห์ ช่วยนำการปฏิวัติที่เปลี่ยนอียิปต์ไปตลอดกาล
พระนางและพระสวามี นำผู้คนอพยพจากเมืองหลวงเก่า ไปสร้างเมืองใหม่ทีสวยงามกลาง ทะเลทราย สำหรับบางคนพระนางคือผู้ฝักใฝ่ศาสนา นักวางแผนและคนทรยศ แต่หลายคนกลับมองพระนาง ว่าเป็นวีรสตรีที่ยอมเสียสละอย่างสูงสุด เพื่อปกป้องประเทศ ราชินีแห่งความรัก ราชินีแห่งความริษยา ราชินีผู้เต็มไปด้วยเพลิงแค้น

สถานที่ประสูติ-เมืองมัลกาตา สถานที่ซึ่งเนเฟอติติใช้ชีวิตในวัยเยาว์เป็นพระราชวังที่งดงามแห่งอียิปต์โบราณ เป็นที่ประทับของฟาโรห์ท่ามกลางสนม ๕๐๐ คน ฮาเร็มอันกว้างใหญ่ของ อเมนโฮเทปที่ ๓ หนึ่งในฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่ของอียิปต์ ราชินีไทยีจะคัดเลือกหญิงสาวในที่นี่มาเป็นราชินี และเนเฟอติติก็อยู่ในนั้นซึ่งเธอได้รับเลือกให้เป็นราชินี
พระโอรสองค์ใหญ่ของไทยี ทุสโมซิส สิ้นพระชนม์เมื่อพระเยาว์ ก็ถึงคราวอเคนาเทน และเนเฟอติติ
กลายมาเป็นผู้สืบทอดบัลลังค์ต่อ
ขึ้นครองราชย์-นับแต่วันครองราชย์ของสองพระองค์ ความเครียดเริ่มมีและเพิ่มมากขึ้น ในหมู่นักบวชชั้นสูง ผู้ปกป้องเทพที่สำคัญที่สุดของอียิปต์ซึ่งเรียกว่า ลัทธิอามุน อำนาจของพวกเขาเทียบได้กับฟาโรห์ พวกเขาคือชนชั้นสูงหัวอนุรักษ์ เป็นเพศชาย มีระเบียบ มีวิธีคิดและเป็นพวกที่ร่ำรวย
ฟาโรห์อะเคนาเตนและพระชายาสาบานว่าจะลิดรอนอำนาจของพวกเขาและดำเนินการต่อสู้ ต่อลัทธิอามุน ทำลายวิหารจนพัง

คานัก ที่สร้างในเมืองหลวงเก่าชื่อธีบ เป็นวิหารตระการตาที่โลกรู้จัก พิธีกรรมประจำวันของเหล่านักบวช ในการสร้างความบริสุทธิ์ ช่วยรักษาระเบียบ แนวคิดที่สำคัญซึ่งชาวอียิปต์โบราณเรียกว่ามาอัด หมายถึงวิธีการที่ถูกต้องในการทำสิ่งต่างๆ ให้เหมาะสม ความจริง ความยุติธรรม เสรีภาพ ที่เป็นเชิงบวกมารักษาไว้

ศูนย์กลางแห่งความเป็นระเบียบอยู่ในวิหาร ที่กลางระเบียงยาวกว่าหนึ่งไมล์ มีเทพอามุนสถิตอยู่ คานัคสร้างขึ้นโดยคนหลายรุ่น ฟาโรห์ทุกองค์ ถูกให้สร้างวิหาร มอบแด่อามุนมากขึ้น แต่อเคนาเตนและเนเฟอติติ กลับทำลายประเพณีนี้ ทำให้คานัคเกิดความโกลาหล ในวิหารมีหอคอยซึ่งค่อนข้างแคบ เป็นที่นักบวชแห่งอามุนปีนขึ้นมาบนยอดวิหาร เป็นหอดูดาวอีกด้วย พวกเขาสร้างแผนที่ดวงดาว เส้นทางดาวเคราะห์ รวมถึงหาฤกษ์ยามเพื่อทำพิธีกรรมศักสิทธิ์สำหรับการปกครองประเทศนั่นเอง และที่นี่ถูกสันนิฐานว่าเป็นต้นกำเนิดของการปฏิวัติ และทั้งสองพระองค์เปลี่ยนไปบูชาเทพสูงสุดขึ้นใหม่คือเทพแห่งดวงอาทิตย์อาเตม ทั้งสองพระองค์ตั้งตนดั่งเป็นนักบวชประจำวิหารอาเตม มุ่งมั่นถึงแนวคิดจะยึดอำนาจคืนจากนักบวชแห่งอามุน และไม่กี่ปีเขาก็สร้างอนุสาวรีย์ให้บดบังวิหารคานัคเดิม

สำหรับนักบวชอามุน การล่วงล้ำวิหารแห่งอามุนคือการล่วงล้ำเทพสูงสุด

คานัก จากการขุดค้นมีภาพของเนเฟอติติ ภาพต่างแสดงว่าเนเฟอร์ติติ มีบทบาทในการสร้างวิหารดวงอาทิตย์ ถวายแด่เทพอาเตม
นักบวชชั้นสูงแห่งอามุน สวมวิกที่ใช้ในพิธีกรรม มองวิหารแห่งดวงอาทิตย์ว่า เป็นการลบหลู่ และเป็นภัยต่ออำนาจของพวกเขา อเคนาเตนเป็นฟาโรห์ นานกว่าห้าปี มีการอ้างอิงในบันทึก กล่าวถึง
ความชั่วร้าย จนทำให้นักบวชพยายามที่จะทำลายแผนการณ์และโค่นอำนาจฟาโรห์ อเคนาเตนลง
ฟาโรห์และพระราชินีเริ่มระส่ำระส่าย จึงดำเนินการแผนใหม่ละทิ้งธีบ ที่เคยเป็นเมืองหลวงของอียิปต์หลายร้อยปี จากแรงบันดาลใจของภาพเทพอาเตม อเคนาเตนออกมุ่งหน้าไปในทะเลทราย พระองค์ทรงแสวงหาที่สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ ที่ปลอดภัยห่างไกลศัตรู เป็นฐานสำหรับการปฏิวัติ นี่คือการปฏิวัติที่ทำให้เนเฟอติติ กลายเป็นหญิงที่มีอำนาจสูงสุด

อ่านต่อตอนที่สอง-มหานครกลางทะเลทราย มหานครแห่งเนเฟอติติ : คลิ๊กตรงนี้
อ่านต่อตอนสุดท้าย-เนเฟอติติ ราชินีผู้สาบสูญ : คลิ๊กตรงนี้

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนูหลัก เสาะหามาเล่า ค้นรื้อมาบอก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานแห่งความรัก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บันทึกวิถีคนกล้า บันทึกสืบ นาคะเสถียร : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู รู้จักดาบวิชัย รู้จักปรางค์กู่ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ชาวบ้านบางระจัน ตำนานนักรบกล้าแห่งสยามประเทศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ตำนานรักนางนาก บางพระโขนง : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บ้านถวาย หมู่บ้านหัตถกรรมแห่งล้านนา : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู สถาพร ศรีสัจจัง นักเขียนนักต่อสู้จากแดนใต้ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู เอลวิส เพรสลีย์ ราชาแห่งร็อคแอนด์โรล : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ปฏิบัติการ US Navy Seal นาทีสังหารผู้นำอัลเคด้า : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ท่องไชยาทางโลก ท่องสวนโมกข์ทางธรรม : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู พันตำรวจเอกสมเพียร เอกสมญา วีระบุรุษบันนังสตา : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บ้านแพน ตลาดมีชีวิตบนวิถีคนลุ่มน้ำ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ราชินีแบดมินตันลูกชาวบ้าน รัชนก อินทนนท์ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู วัดพระบรมธาตุ ประวัติศาสตร์น่ารู้แห่งเมืองชัยนาท : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู นครธม ศิลปเขมรแบบบายน สิ่งมหัศจรรย์ของโลก : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้

 

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 100 คน
 สถิติเมื่อวาน 267 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2432 คน
19422 คน
901474 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong