Sangtakieng.com

contractor 's supervision and management
การกำกับดูแลและบริหารจัดการความปลอดภัยสำหรับผู้รับเหมา
ตอนที่หนึ่ง การแบ่งประเภทของผู้รับเหมาตามลักษณะงาน 
 
งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail. contact number : sangtakieng@gmail.com  093 7719222
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)
อบรม สัมมนา ที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติ 
e-mail. contact number : sangtakieng@gmail.com  093 7719222 
 


หัวข้อที่จะนำเสนอ
 
  • ตอนที่หนึ่ง การแบ่งประเภทผู้รับเหมา : นำเสนอท่านหน้านี้ด้านล่าง
  • ตอนที่สอง แนะนำความปลอดภัยผู้รับเหมาก่อนเริ่มงาน : คลิ๊กตรงนี้
  • ตอนที่สาม การกำกับดูแลและบริหารจัดการผู้รับเหมา : คลิ๊กตรงนี้
  • ตอนที่สี่ เทคนิคตรวจติดตามความปลอดภัยผู้รับเหมา : คลิ๊กตรงนี้

ตอนที่ ๑ การแบ่งประเภทของผู้รับเหมาตามลักษณะงาน
ขอบเขตและเจตนารมณ์ของเอกสาร 

ภาคงานอุตสาหกรรมและกิจกรรมห่วงโซ่งานอุตสาหกรรมของประเทศไทย ภาคพื้นและของโลกมีการแข่งขันกันมากขึ้น คำว่าประสิทธิภาพสูงสุดบนต้นทุนที่ต่ำสุด จึงตามมา ภาระงานส่วนหนึ่งจึงถูกผลักดันไปอยู่ในมือของผู้รับเหมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเฝ้ามองเรื่องดังนี้เกือบสามทศวรรษ เมื่อไม่มีเอกสารภาษาไทยที่มีตัวตน มีที่มาที่ไปให้จับต้องได้ เอกสารฉบับนี้จึงเกิดขึ้นและมีเจตนารมณ์ไว้หลายประการ
 
  • เกิดความปลอดภัยกับผู้รับเหมาเป็นรูปธรรมมากกว่าคำพูดสวยๆ ในห้องประชุมระหว่างตัวแทนองค์กร
  • พัฒนา ยกระดับพนักงานบังคับบัญชาระดับต้นและพนักงานจัดการ (front line leader, area manager) ให้ใช้องค์ความรู้เชิงบริหารและจิตวิทยาองค์การมาใช้กับการกำกับดูแลผู้รับเหมาภายใต้ความสำเร็จร่วมกัน ผู้รับเหมาเปรียบเสมือนเป็นหุ้นส่วนทางการค้าหรือคู่ค้า (partnership) ไม่ใช่เป็นเพียงผู้รับจ้าง
  • แนะนำวิธีปฏิบัติ ๔ องค์ประกอบ เพื่อกำกับดูแลและบริหารจัดการผู้รับเหมาแบบมืออาชีพ ปฏิบัติได้ง่าย ปฏิบัติได้จริงไม่ต้องพูดแบบกอดหนังสือ
  • รู้วิธีกำกับดูแลและบริหารจัดการผู้รับเหมา ตั้งแต่การติดต่อประสานงาน ผู้รับเหมาเข้าเขตบริษัท การนำเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ วัตถุดิบ ยานพาหนะ ฯลฯ เข้าเขตบริษัท การอยู่ภายในสถานที่ของผู้ว่าจ้างระหว่างวัน กิจกรรมงานและการออกกลับจากบริษัท

ขอบเขตของเอกสารจะกล่าวถึงศาสตร์ครบด้าน ศาสตร์ดังกล่าวจะใช้สำหรับการกำกับดูแลและบริหารจัดการผู้รับเหมา หมายความว่าแนะนำให้รู้จักการแบ่งกลุ่มผู้รับเหมาตามลักษณะงาน คือผู้รับเหมาลักษณะที่หนึ่ง ผู้รับเหมาลักษณะที่สองและผู้รับเหมาลักษณะที่สาม (first tier contractor, second tier contractor and third tier contractor) และอีกส่วนที่ต้องให้ความรู้ควบคู่คือ ๔ องค์ประกอบสำหรับกำกับดูแลผู้รับเหมา ภาพการ์ตูนจากเว็ปไซด์ canstockphoto.com
 
  • บริหารจัดการโดยใช้ระบบที่ปลอดภัย system safety
  • บริหารจัดการให้คนทำงานปลอดภัย people safety
  • บริหารจัดการเครื่องจักร เครื่องมือ วัสดุ วัตถุดิบ ฯลฯ ปลอดภัย plant safety  /และ
  • พื้นที่ปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัย area attributions  

 


การแบ่งประเภทของผู้รับเหมาตามลักษณะงาน
การแบ่งประเภทผู้รับเหมา จะแบ่งตามลักษณะงานที่ทำ การแบ่งลักษณะอื่นจะยุ่งยาก ซับซ้อนเกินความจำเป็นและไม่ตอบสนองสำหรับการกำกับดูแลให้เกิดความปลอดภัยในที่ทำงาน ผู้รับเหมาแบ่งตามลักษณะงานที่ทำได้ดังนี้  
 
  • ผู้รับเหมาลักษณะที่หนึ่ง (first tier contractor) ผู้รับเหมาลักษณะนี้จะถูกว่าจ้างด้วยระบุขอบเขตของงาน มีช่วงสัญญาว่าจ้างและเงื่อนไขที่แน่นอน พนักงานบังคับบัญชาของบริษัทว่าจ้างสั่งงานได้โดยตรง (company to personal) การทำงานจะเหมือนกับพนักงานของบริษัท  
 
    1. เวลาทำงานช่วงวันหรือช่วงสัปดาห์เหมือนกับพนักงาน
    2. เวลาทำงานและเลิกงานพร้อมพนักงานของบริษัท
    3. กำกับดูแลด้านความปลอดภัย โดยตรงจากต้นสังกัดของผู้ว่าจ้าง
    4. บังคับบัญชาโดยตรงจากต้นสังกัดของผู้ว่าจ้าง
    5. ใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเหมือนพนักงาน
    6. หัวหน้างานของผู้ว่าจ้างเป็นกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
    7. การฝึกอบรมพัฒนา มีความต้องการเหมือนพนักงาน

  • ผู้รับเหมาลักษณะที่สอง (second tier contractor) ถูกว่าจ้างด้วยระบุขอบเขตของงาน มีช่วงสัญญาว่าจ้างและเงื่อนไขที่แน่นอน ผู้ว่าจ้างไม่กำกับดูแลโดยตรง แต่จะสั่งงานผ่านหัวหน้างานของบริษัทผู้รับเหมา (company to group leader) หัวหน้างานของบริษัทผู้รับเหมาต้องทำงานเต็มช่วงเวลาเช่นเดียวกับพนักงานในสังกัด
 
    1. เวลาทำงานช่วงวัน ช่วงสัปดาห์ เวลาเข้าและเลิกงานต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขว่าจ้าง
    2. กำกับดูแลด้านความปลอดภัย ได้ทั้งโดยตรงและกำกับดูแลผ่านหัวหน้างานของบริษัทผู้รับเหมา แต่โดยขั้นพื้นฐานจะกำกับดูแลผ่านหัวหน้างานของบริษัทผู้รับเหมา
    3. สั่งงานผ่านหัวหน้างานของบริษัทผู้รับเหมา
    4. ใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเหมือนพนักงานและรวมกฎระเบียบที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้รับเหมาด้วย เช่นไม่อนุญาตให้ทำงานกับ พารามิเตอร์เครื่องจักรหรือข้อมูลที่เป็นระดับความลัพธ์ของบริษัทผู้ว่าจ้าง ฯลฯ เป็นต้น
    5. การฝึกอบรมพัฒนา เป็นได้ทั้งสองแบบคือบริษัทผู้ว่าจ้างพัฒนาให้หรือให้บริษัทผู้รับเหมาฝึกอบรมตามลักษณะงานที่ทำ หรือตามที่กฎหมายกำหนดก็ได้
    6. ทำงานในพื้นที่ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทผู้ว่าจ้าง

 

  • ผู้รับเหมาลักษณะที่สาม (third tier contractor) ว่าจ้างด้วยระบุขอบเขตของงาน มีช่วงสัญญาว่าจ้างและเงื่อนไขที่แน่นอน ผู้ว่าจ้างไม่กำกับดูแลโดยตรง แต่จะกับดูแลผ่านบริษัทต้นสังกัดของผู้รับเหมา (company to company) พื้นที่ทำงานและทรัพยากรที่ใช้ ผู้รับเหมาเป็นผู้จัดหาและบริหารจัดการเองทั้งหมด
 
    1. เวลาทำงานช่วงวัน ช่วงสัปดาห์ เวลาเข้าและเลิกงานขึ้นอยู่กับบริษัทผู้รับเหมา
    2. บริษัทผู้รับเหมาจะกำกับดูแลด้านความปลอดภัยด้วยตนเองตามสัญญาว่าจ้าง หากบริษัทผู้ว่าจ้างต้องการเข้าไปตรวจความปลอดภัยในพื้นที่ ต้องได้รับอนุญาตและมีคนจากบริษัทผู้รับเหมาร่วมด้วย
    3. การสั่งงาน มอบหมายงานทำโดยบริษัทผู้รับเหมา
    4. กฎระเบียบการปฏิบัติงานหรือกฎระเบียบอื่นใดผู้รับเหมากำหนดขึ้นเองและบังคับใช้กับพนักงานในสังกัดด้วยตนเองแต่ต้องไม่ขัดกับสัญญาว่าจ้าง
    5. หากมีการพัฒนาบุคลากร การฝึกอบรม เป็นความรับผิดชอบของบริษัทผู้รับเหมา
    6. การอนุญาตเข้าออกพื้นที่ไซด์งาน เป็นความรับผิดชอบของบริษัทผู้รับเหมา


งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ-ระเบียบปฏิบัติ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังตอนที่สอง แนะนำความปลอดภัยผู้รับเหมาก่อนเริ่มงาน : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังตอนที่สาม การกำกับดูแลและบริหารจัดการผู้รับเหมา : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังตอนที่สี่ เทคนิคตรวจติดตามความปลอดภัยผู้รับเหมา : คลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 23 คน
 สถิติเมื่อวาน 139 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2247 คน
45589 คน
927641 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong