Sangtakieng.com

 

 
lockout tagout safety and permit to work system 
วิศวกรรมความปลอดภัยล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์และการจัดทำระบบล็อคเอาท์ ในสถานประกอบกิจการ
 
ตอนที่หนึ่ง ความเข้าใจเกี่ยวกับการตัดแยกพลังงานและการล็อคเอาท์ระบบ  
 
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) 
อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน 
e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222

สารบัญเรื่องที่จะนำเสนอ
 
  • ตอนที่หนึ่ง ความเข้าใจการตัดแยกพลังงาน ล็อคเอาท์ระบบ : นำเสนอด้านล่าง 
  • ตอนที่สอง อุปกรณ์ปิดกั้นพื้นที่ แท๊ก และอุปกรณ์ตัดแยกพลังงาน : คลิ๊กตรงนี้
  • ตอนที่สาม ขั้นตอนการตัดแยกพลังงานและทำล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ : คลิ๊กตรงนี้
  • ตอนที่สี่ การตัดแยกระบบและขออนุญาตทำงาน : คลิ๊กตรงนี้ 
  • ตอนที่ห้า วิธีจัดทำคู่มือคำแนะนำ (WI) แนบใบขออนุญาตทำงาน : คลิ๊กตรงนี้
  • ตอนที่หก มาตรการควบคุมอุบัติเหตุในงานปฏิบัติการ : คลิ๊กตรงนี้
  • ตอนที่เจ็ด การจัดทำระบบล็อคเอาท์ฯ ในสถานประกอบกิจการ : คลิ๊กตรงนี้

 

ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับการตัดแยกพลังงานและล็อคเอาท์ระบบ

แม้เครื่องจักรโรงงานจะถูกออกแบบควบรวมไว้แล้วกับเทคโนโลยีและโปรแกรมควบคุมสมัยใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก่อนหน้านี้ ทว่าอุตสาหกรรมของประเทศไทยและภาคพื้นรอบ-รอบประเทศไทย เพิ่งจะรับรู้เอาจริงเอาจังประมาณปี ๒๕๒๙ ทั้งนี้อาจมองสะท้อนจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออกก็เป็นได้ (eastern seaboard : แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ ช่วงปี ๒๕๒๕-๒๕๒๙) เครื่องมือ เครื่องมือกลและเครื่องจักรอุตสาหกรรม มากจำนวนนับ จากหลายผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ ทั้งจากโลกตะวันออกเองและจากอีกฟากฝั่งซึ่งเป็นผู้นำเกือบทุกด้านมาแต่ครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ถูกส่งเข้ามาร่วมด้วย มีคำอธิบายและเหตุผลมากมายที่หลายภาคส่วนต้องทำตามกระแสอย่างนั้น การปรับตัวเพื่อการดำรงอยู่ของธุรกิจ การแข็งขันเพื่อนำทรัพยากรมาแปรรูป การฉกฉวยโอกาสของระบบทุนนิยม ฯลฯ เหล่านี้ทำให้หลากเรื่องหลายราวทั้งด้านบวกและด้านลบ เกิดขึ้นปนเคล้า … และเราเองก็ตกอยู่ในกระแสนั่นเช่นกัน

         

ขอขอบคุณอย่างสูง : ภาพจาก kingosafety.com

การแข่งขันเพื่อนำตนเองสู่ความเป็นเป็นเสือลำดับต้นๆ ทางเศรษฐกิจ ดูเหมือนเราจะอยู่บนความขาดเกินและไม่พร้อมอีกหลายด้าน บางเรื่องก็อาจจะไม่เท่าทันกับเทคโนโลยีสูงๆ หากพิจารณาในรายละเอียด พบว่าอุบัติเหตุหลายครั้งเป็นภาวะที่ไม่ได้คาดคิด คิดไม่ถึงหรือบางทีก็เกือบอยู่นอกเหนือการควบคุม (uncontrollable cause) เสียด้วยซ้ำ การบาดเจ็บจากการทำงาน การบาดเจ็บที่ต้องบำบัดทางการแพทย์ การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเสียชีวิตหรือวินาศภัยร้ายแรงจึงเกิดขึ้น หนึ่งในนั้นเป็นอุบัติเหตุที่มาจากการตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ปนรวมอยู่ด้วย, บทความสั้น energy isolation and lockout ฉบับนี้จึงอยากมีส่วนร่วมและตั้งใจจะนำเสนอเรื่องนี้เป็นลำดับขั้น ด้วยภาษาง่ายๆ ให้ได้รับรู้ว่าต้องทำอย่างไร (how to do not what to do) ต้องควบคุมอันตรายอย่างไร จึงจะเรียกว่าเท่าทันและส่งถึงผลขั้นปลายให้อุบัติเหตุลดลงหรือเป็นศูนย์ ลำดับนี้จะนำเสนอในหัวข้อดังต่อไปนี้  


  • พลังงานที่ทำให้เกิดอันตราย และต้องตัดแยกระบบก่อนเข้าไปทำงาน
  • กุญแจสี อุปกรณ์ช่วยล็อค อุปกรณ์ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงานและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน
  • เครื่องมือ เครื่องมือกล เครื่องจักร สภาพแวดล้อมการทำงานและพลังงานที่ต้องตัดแยกระบบ
  • ขั้นตอน วิธีตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบโดยวิธีล็อค-เอาท์ที่กลไก (full energy isolation)
  • การบริหารจัดการ ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยให้ระบบ lockout tagout safety สามารถปฏิบัติได้จริง

 

พลังงานที่ทำให้เกิดอันตราย ต้องตัดแยกและล็อคเอาท์ ก่อนเข้าไปทำงาน 

ดังกล่าวนำข้างต้น พลังงานจากเครื่องมือ เครื่องจักรอุตสาหกรรมมีหลายชนิด หากพลังงานเหล่านั้นไม่ถูกตัดแยกก่อนเข้าไปทำงาน ก็อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุและมีผลกระทบตามมา พลังงานที่ป้อนและนำออกจากเครื่องจักรมีหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น  

 
  • พลังงานจากเครื่องจักรเคลื่อนที่
  • พลังงานไฟฟ้า electrical power
  • พลังงานจากระบบอากาศอัด pneumatics
  • พลังงานจากระบบไฮดรอลิกส์ hydraulics
  • พลังงานจากของที่วางสูงจากพื้นตกใส่ gravity or storage energy
  • พลังงานจากเคมี chemicals
  • พลังงานจากความร้อน heat, thermal
  • พลังงานที่เกิดจากความดันภายในภาชนะปิด high pressure ฯลฯ เป็นต้น

ประเด็นตัวอย่าง  พลังงานที่เกิดจากของวางสูงจากพื้นตกใส่ (storage energy) : ในงานปฏิบัติการ เราอาจพบในหลายรูปแบบเช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักรที่ถูกถอดออกในงานซ่อมบำรุง ก่อนถอดออกชิ้นส่วนเหล่านั้นถูกยึดติดอยู่กับเฟรมที่แข็งแรง หลังถอดออกจะอยู่ในภาวะชิ้นงานอิสระ (loose material or loose part) ที่วางสูงจากพื้น หากตกโดนคนด้านล่างก็จะได้รับบาดเจ็บ ฯลฯ เพื่อทบทวนความเข้าใจและตอบคำถามว่า ของที่วางสูงจากพื้นมีพลังงานได้อย่างไร ขอให้พิจารณาภาพและคำอธิบายประกอบภาพดังต่อไปนี้

        

จะเห็นได้ว่าชิ้นงานซึ่งวางอิสระบนที่สูงจะสะสมพลังงานศักย์เอาไว้  เมื่อชิ้นงานตกลงด้านล่าง จะพบว่า พลังงานศักย์+พลังจลน์จากการเคลื่อนที่ ซึ่งรวมเป็น = พลังงานกล (potential energy+kinetic = mechanical energy) ซึ่งพลังงานกลนี่เอง ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ของเสียหาย คนบาดเจ็บหรือตาย

กุญแจสี อุปกรณ์ช่วยล็อค ป้ายทะเบียนและอุปกรณ์ปิดกั้นควบคุมพื้นที่

 

เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายและนำความเข้าใจไปใช้งานได้จริง จะแบ่งอุปกรณ์ล็อคเอาท์ ตัดแยกพลังงานและอุปกรณ์ปิดกั้น ควบคุมอันตรายออกเป็น ๓ กลุ่มดังนี้

  1. กุญแจสี Padlock
  2. อุปกรณ์ช่วยล็อค lockout accessories or locking devices
  3. อุปกรณ์ควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน soft-hard barricade and safety sign 

กุญแจสี Padlock สำหรับล็อคเอาท์อุปกรณ์ทำงาน 

กุญแจสี padlock สำหรับล็อคเอาท์อุปกรณ์ตัดแยกพลังงาน แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ keyed alike ซึ่งหมายถึงกุญแจสีประเภทกลุ่ม มีหลายแม่กุญแจ ใช้ลูกกุญแจเพียงลูกเดียวไขได้ทั้งกลุ่ม ไขข้ามกลุ่มไม่ได้, ส่วน key difference หมายถึงกุญแจสีประเภทเดี่ยว มีหนึ่งแม่กุญแจและหนึ่งลูกกุญแจเท่านั้น ทั้งกุญแจสีประเภทกลุ่มและกุญแจสีประเภทเดี่ยวให้ประยุกต์ใช้งานดังนี้

 
 บันทึกเพิ่มเติม : เพื่อให้เข้าใจเป็นลำดับขั้น จะแนะนำให้รู้จักประเภทและการประยุกต์ใช้กุญแจสีก่อน เป็นลำดับต้น สำหรับวิธีและขั้นตอนในการใช้จะอธิบายในลำดับถัดไป

 

   


อุปกรณ์ช่วยล็อค
 

อันเนื่องมาจาก อันเนื่องมาจากข้อกำหนดเกี่ยวกับการสร้างกุญแจสีและการออกแบบระบบ energy lockout กล่าวคือ () ไม่สามารถที่จะสร้างกุญแจสีหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ใช้ได้กับเบรกเกอร์ทางไฟฟ้า วาล์วทางกลหรือหน้าแปลนปิดท่อ (piping blind flange) ทุกชนิด ทุกขนาดได้ หรือ () สร้างได้แต่ไม่คุ้มทุนหรือใช้งานยากลำบาก จึงเป็นเหตุผลทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัยที่จะออกแบบและสร้างอุปกรณ์ช่วยล็อคเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ

 
  1. อุปกรณ์ช่วยล็อคทางกล เช่นล็อควาล์ว, ล็อค blind flang, ล็อคอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่อยู่สูงจากพื้นไม่ให้ตกลงด้านล่าง, ล็อคฝาแมนโฮล์ลของถัง ไม่ให้ปิดขณะซ่อมบำรุงหรือขณะทำงานภายในถัง ฯลฯ เป็นต้น
  2. อุปกรณ์ช่วยล็อคทางไฟฟ้า ซึ่งจะใช้ล็อคเบรกเกอร์ขนาดต่างๆ

   

    


ตัวอย่าง แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับ Lockout Tagout and Permit to Work (บางแบบฟอร์มถูกลบออกจากระบบเพื่อพัฒนา)
 
  1. ใบขออนุญาตเข้าทำงาน (Permit to Work Form) : คลิ๊กตรงนี้
  2. ใบขออนุญาตเข้าทำงาน Construction Site : คลิ๊กตรงนี้
  3. แบบฟอร์มคู่มือคำแนะนำแบบใช้งานชั่วคราว : คลิ๊กตรงนี้
  4. แบบฟอร์มชี้บ่งอันตราย ใช้ร่วมกับ WI แบบใช้งานชั่วคราว : คลิ๊กตรงนี้
  5. ใบรายการตัดแยกระบบ (Equipment Lockout List) : คลิ๊กตรงนี้
  6. ใบส่งกะการขออนุญาตเข้าทำงาน (PTW Hand Over Form) : คลิ๊กตรงนี้
  7. แบบฟอร์มคู่มือคำแนะนำมาตรฐาน WI Standard Template : คลิ๊กตรงนี้
  8. ใบรายงานความผิดปกติเครื่องจักรและเครื่องมือ : คลิ๊กตรงนี้

งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  ที่ปรึกษาจัดทำระบบ lockout tagout : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)  Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com
 

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สอง อุปกรณ์ปิดกั้นพื้นที่ แท๊ก และอุปกรณ์ตัดแยกพลังงาน : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สาม ขั้นตอนการตัดแยกพลังงานและทำล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สี่ การตัดแยกระบบและขออนุญาตเข้าทำงาน : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่ห้า วิธีจัดทำคู่มือคำแนะนำ (WI) แนบใบขออนุญาตเข้าทำงาน : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หก มาตรการควบคุมอุบัติเหตุในงานปฏิบัติการ  : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่เจ็ด การจัดทำระบบล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ในสถานประกอบกิจการ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู หลักสูตรที่ฝึกอบรมและสัมมนา คลิ๊กตรงนี้  
  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 140 คน
 สถิติเมื่อวาน 104 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
1051 คน
53197 คน
935249 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong