|
|
๒
|
| |
lockout tagout safety and permit to work system | วิศวกรรมความปลอดภัยล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์และการจัดทำระบบล็อคเอาท์ ในสถานประกอบกิจการ | | ตอนที่สอง อุปกรณ์ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ แท๊กและอุปกรณ์ตัดแยกพลังงาน | | งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง | facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง | | บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) | ฝึกอบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน | e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222 |
อุปกรณ์ปิดกั้น ควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงานและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วม |
การบริหารจัดการพื้นที่ในที่ทำงานแบ่งออกเป็น
๓ ส่วนคือ พื้นที่ปลอดภัย พื้นที่เตือนอันตราย (อาจได้รับอันตราย)
และพื้นที่อันตราย,
หากจะมองลึกลงไปเฉพาะพื้นที่ปฏิบัติงาน
ก็จะแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือพื้นที่เตือนอันตรายและพื้นที่อันตราย
การปิดกั้นควบคุมพื้นที่จึงต้องใช้อุปกรณ์และอุปกรณ์ร่วมดังต่อไปนี้
| | - แถบสีและธงริ้ว soft barricade
- รั้วแข็ง hard barricade
- สัญญลักษณ์ความปลอดภัย safety sign
- ป้ายทะเบียนความปลอดภัย safety tag
|
แถบสีและธงริ้วสำหรับกั้นควบคุมพื้นที่ | |
- แถบสีและธงริ้ว : หากเป็นแถบกั้นเตือนให้ระวังอันตรายจะมีสีเหลือสลับสีดำ ลักษณะเฉียงสลับสี, สำหรับในอุตสาหกรรมโลกตะวันตกอาจจะมีลักษณะแถบสีเหลืองและมีตัวหนังสือ caution สีดำ (แปลว่าระวัง) เป็นช่วงระยะห่างสม่ำเสมอ /และกรณีเป็นธงริ้ว ก็จะเป็นธงสามเหลี่ยมสีเหลืองและสีดำปลายแหลมชี้ลง ซึ่งแผ่นธงสามเหลี่ยมที่กล่าวถึงนี้ จะถูกนำมาเย็บติดกับเชือกแบบสลับสีเหลือง-ดำ ไปเรื่อยๆ ตลอดความยาวที่ต้องการ
| - แถบกั้นเตือนหรือธงริ้วกั้นเตือนเหลืองดำ warning tape or warning fag
- แถบกั้นอันตรายหรือธงริ้วกั้นอันตรายขาวแดง danger tape or warning fag
|
| |
แผงกั้นอันตราย รั้วแข็งและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ : อุปกรณ์ป้องกันควบคุมอันตรายที่กล่าวถึงนี้ จะมีทั้งแบบผนังทึบและแบบรั้วโปร่ง โดยทั่วไปตามมาตรฐานกำหนด จะสูง ๙๐-๑๑๐ เซนติเมตร ซึ่งอาจจะสูงกว่านี้หากผลการวิเคราะห์ความปลอดภัยหรือผลการประเมินความเสี่ยง (risk assessment) พบว่าต้องสูงกว่านี้หรืออาจจะสูงตามระเบียบด้านความปลอดภัยเฉพาะเรื่องแต่ต้องไม่ต่ำกว่า ๙๐ เซนติเมตร สัญญลักษณ์ความปลอดภัย : สัญญลักษณ์ความปลอดภัยนอกจาก ป้ายความปลอดภัย เครื่องหมายต่างๆ แล้ว ยังหมายความรวมถึง การขีดสีตีเส้น ข้อความ ภาพ ไฟวับวาบ ซึ่งอาจจะใช้สัญญลักษณ์สี ข้อความ ภาพ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้
|
| |
- ป้ายทะเบียนความปลอดภัยหรือเซฟตี้แท๊ก (safety tag) : จากการศึกษาค้นคว้า ไม่พบว่าเอกสารฉบับใดจะแบ่งแยกประเภทของแท๊กไว้ชัดเจน จึงทำสำรวจและเก็บข้อมูลในประเทศไทย ระหว่างช่วงปี ๒๕๓๕-๒๕๖๐ ระยะเวลาเก็บข้อมูลประมาณ ๒๕ ปี เมื่อนำมาประมวลภาพรวม พบว่าป้ายทะเบียนสามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภท ดังนี้
| - ป้ายทะเบียนเตือน warning tag
- ป้ายทะเบียนอันตราย danger tag
- ป้ายทะเบียนบอกสถานภาพ inspection tag, information tag
- ป้ายทะเบียนอนุญาตบุคคล custom quick ship tag
|
ป้ายทะเบียนเตือนและการใช้งาน warning tag
| ลักษณะของป้ายทะเบียนเตือน ต้องมีพื้นสีเหลืองขอบสีดำและตัวหนังสือหลักที่แสดงบนพื้นป้ายฯ ต้องเป็นสีดำ ใช้แขวนเตือนที่อุปกรณ์ เครื่องมือหรือที่สวิทซ์ควบคุมเครื่องจักรเพื่อให้ปฏิบัติตามข้อความที่กำหนด หากมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฯ อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ หากเกิดอุบัติเหตุ ระดับผลกระทบที่ตามมาต้องอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ตัวอย่างเช่น หากเกิดอุบัติเหตุกับคน ยอมรับได้แค่ระดับบาดเจ็บจากการทำงาน (work injury) หากสูงกว่านี้เช่น ต้องหยุดงานเกินหนึ่งวันหรือหยุดหนึ่งกะทำงาน ต้องบำบัดทางการแพทย์ สูญเสียอวัยวะหรือตาย ถือว่าเป็นระดับที่ยอมรับไม่ได้ (loss time injury, medical treatment injury, near miss fatality or fatality)
|
ป้ายทะเบียนอันตรายและการใช้งาน danger tag
| ลักษณะของป้ายทะเบียนอันตราย
มีรหัสสีหลักเป็นสีขาวกับสีแดง ส่วนข้อความจะเป็นสีอื่นก็ได้
ใช้แขวนห้ามที่อุปกรณ์
เครื่องมือหรือที่สวิทซ์ควบคุมเครื่องจักรเพื่อให้ปฏิบัติตามข้อความที่กำหนด
หากมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฯ อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุซึ่งระดับผลกระทบที่ตามมาจะสูงกว่าระดับที่ยอมรับได้
ตัวอย่างเช่น บาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานเกินหนึ่งวันหรือหยุดหนึ่งกะทำงาน
ต้องบำบัดทางการแพทย์ สูญเสียอวัยวะ บุคคลเสียชีวิต
หรือเสียชีวิตคราวละมากกว่าหนึ่งคน (loss
time injury, medical treatment injury, near miss fatality or fatality)
|
ป้ายทะเบียนบอกสถานภาพและการใช้งาน inspection tag, information tag
| ลักษณะป้ายทะเบียนบอกสถานภาพ
ควรหลีกเลี่ยงรหัสสีไม่ให้ซ้ำกับรหัสสีของป้ายทะเบียนเตือน
หรือไม่ซ้ำกับรหัสสีของป้ายทะเบียนอันตราย ใช้แขวนเพื่อบอกสถานขณะนั้นของอุปกรณ์
เครื่องมือหรือที่สวิทซ์ควบคุมเครื่องจักร หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม
อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุและเกิดผลกระทบกับงาน
กระบวนการธุรกิจหรือชื่อเสียงขององค์กร เช่นประสิทธิภาพของงานต่ำลง
งานล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด ลูกค้าขาดความเชื่อถือ ยอดสั่งซื้อลดลง ฯลฯ เป็นต้น (ป้ายทะเบียนกลุ่มนี้
ส่วนมากจะใช้ควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดกับทรัพย์สินหรือเกิดความเสียหายกับกระบวนการธุรกิจ
มากกว่า
หมายถึงไม่แนะนำให้ใช้กับการควบคุมอันตรายที่อาจเกิดกับคน)
ตัวอย่างเช่น
| - ก๊าซออกซิเจนถังเต็ม oxygen-full cylinder
- ก๊าซอะเซทีลีนถังเปล่า acetylene-empty cylinder
- อนุญาตใช้งานนั่งร้าน scaffolding permit tag
- กำลังเดินเครื่องใช้งานเครื่องจักร machine in service ฯลฯ เป็นต้น
|
ป้ายทะเบียนอนุญาตบุคคลและการใช้งาน custom quick ship tag
| ลักษณะของป้ายทะเบียนอนุญาตบุคคล
รหัสสีไม่ได้ถูกกำหนดไว้ชัดเจน
แต่โดยปกติจะไม่ใช้รหัสสีซ้ำกับรหัสสีของป้ายทะเบียนเตือน
หรือไม่ซ้ำกับรหัสสีของป้ายทะเบียนอันตราย
และที่แตกต่างชัดเจนคือต้องมีภาพถ่ายหน้าตรงบุคคลร่วมบนป้ายทะเบียนฯ เสมอ
ใช้งานอนุญาตบุคคลเพื่อเข้าในเขต-หรือพื้นที่จำเพาะ
ตัวอย่างเช่นอนุญาตบุคคลเข้าพื้นที่ความลับของหน่วยงาน
อนุญาตบุคคลเข้าในพื้นที่อันตรายสูง
อนุญาตบุคคลใช้เครื่องจักรที่มีลักษณะพิเศษหรือลักษณะอื่นใดที่หน่วยงานกำหนด
ฯลฯ ผู้ที่ได้รับป้ายทะเบียนอนุญาตบุคคลควรผ่านการฝึกอบรมในเรื่องนั้นๆ
ก่อนได้รับอนุญาต
|
| |
เครื่องมือกล เครื่องจักร สภาพการทำงานและพลังงานที่ต้องตัดแยกระบบ | งานปฏิบัติการกับเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องจักรโรงงานมี ๔ รูปแบบ | | - ทำงานกับเครื่องจักร ที่ถูกตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ (full energy isolation and lockout)
- ทำงานกับเครื่องจักร ที่ถูกควบคุมให้อุปกรณ์ต้นกำลังหยุด (controlled access)
- ทำงานกับเครื่องจักร ที่ถูกควบคุมให้อุปกรณ์ทำงานหยุด (restrict access)
- ทำงานกับเครื่องจักรในภาวะเคลื่อนที่หรือทำงานกับเครื่องจักรในภาวะที่เครื่องจักรไม่ถูกตัดแยกพลังงาน (working on live equipment)
|
บันทึกเพิ่มเติม : เอกสารส่วนนี้
จะอธิบายในกรอบการทำงานกับเครื่องจักรที่ถูกตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ
(full
energy isolation and lockout) เท่านั้น ส่วนการทำงานในรูปแบบอื่นๆ
จะนำเสนอในส่วนถัดไป
| ประเด็นพิจารณาสำหรับงานปฏิบัติการอุตสาหกรรมหรือปฏิบัติการโรงงาน
คือจะตัดแยกอุปกรณ์กลุ่มใดบ้างและมีลำดับก่อนหลังอย่างไร-สามส่วนที่ต้องควบคุมอันตรายและต้องตัดแยกอุปกรณ์หรือเครื่องจักร
|
- เครืองจักรที่จะเข้าไปทำงาน
- เครื่องจักรแวดล้อมซึ่งอาจเป็นอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน
- ปิดกั้น ควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน (ซึ่งการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน /และกฎหมายไทย เรียกว่าเขตอันตราย)
| |
เครื่องจักรที่เข้าไปทำงานคือเครื่องจักรเป้าหมายสำหรับ
ซ่อม แก้ไขหรือดัดแปลงสภาพ ส่วนเครื่องจักรแวดล้อมหมายถึงเครื่องจักรซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรืออยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับเครื่องจักรเป้าหมายที่จะเข้าไปซ่อมฯ
ซึ่งเมื่อเข้าไปทำงานกับเครื่องจักรที่เป็นเป้าหมายอาจเป็นอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน
เครื่องจักรทั้งสองส่วนนี้ จึงต้องระบุว่าต้องตัดแยกพลังงานหรือควบคุมอันตรายอย่างไร
ทั้งนี้ต้องบันทึกจุดตัดแยกหรือวิธีควบคุมอันตรายในแบบฟอร์มให้ชัดเจน
ก่อนเข้าไปทำงาน
การปิดกั้น
ควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงานให้พิจารณาใช้อุปกรณ์ที่เป็นแถบกั้นหรือธงริ้ว
รั้วแข็ง
สัญลักษณ์ความปลอดภัยและป้ายทะเบียนความปลอดภัย
(soft barricade, hard barricade, safety sign, safety tag) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกันมาพิจารณาปิดกั้นควบคุมพื้นที่
โดยให้พิจารณาปิดกั้นควบคุมพื้นที่แบบรอบทิศทางคือ ตามแนวราบด้านซ้าย ขวา หน้า
หลังและตามแนวดิ่งบน ล่าง (abbi=above-behind-below and
inside)
| |
กรณีศึกษา ต้องการซ่อมชุดต้นกำลังไฮดรอลิค
ซึ่งอยู่ใกล้สายพานลำเลียง ๑๒๐ เซนติเมตร ด้านบนมีเครนรางเลื่อนไฟฟ้า
ขนย้ายชิ้นงานเพื่อวางบนสายพานลำเลียง ให้ศึกษากลุ่มย่อยและหาข้อสรุปในลำดับแรก
ดังเงื่อนไขต่อไปนี้
| | - เครื่องจักรใด เป็นเครื่องจักรที่จะเข้าไปทำงาน
- ระบุชื่อเครื่องจักรแวดล้อม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน
- เครื่องจักรที่จะเข้าไปทำงานและเครื่องจักรแวดล้อม จะตัดแยกพลังงาน ล็อค-เอาท์ระบบหรือจะควบคุมอันตรายอย่างไร
- ต้องปิดกั้นควบคุมพื้นที่อย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักการ abbi (การปิดกั้นควบคุมพื้นที่แบบรอบทิศทาง)
|
แนวทางตอบคำถาม กรณีศึกษา | | - แนวทางตอบคำถามที่หนึ่ง : เครื่องจักรที่จะเข้าไปทำงานคือชุดต้นกำลังไฮดรอลิค
- แนวทางตอบคำถามที่สอง : สายพานลำเลียงและเครนรางเลื่อนไฟฟ้า
เป็นเครื่องจักรแวดล้อมซึ่งอาจเป็นอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน
- แนวทางตอบคำถามที่สาม : เครื่องจักรที่จะเข้าไปทำงานและเครื่องจักรแวดล้อมต้องตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบดังนี้
|
เครื่องจักรที่จะเข้าไปทำงาน : ตัดแยกพลังงานและล็อคเอาท์
โดยควบคุมอุปกรณ์ทำงานเช่น ชุดกระสูบสูบกลับที่ตำแหน่งเตรียมหยุด (home
position) หลังจากนั้นให้ตัดแยกเบรกเกอร์ไฟฟ้าของปั้มไฮดรอลิคและล็อคเบรกเกอร์
ด้วยกุญแจสี สายพานลำเลียง : ให้เลือกวิธีหยุดการใช้งาน
ตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ชุดมอเตอร์ขับ
เป็นลำดับแรก,
หากเป็นไปไม่ได้
ซึ่งหมายถึงหากหยุดสายพานลำเลียงจะส่งผลกระทบสูงกับกระบวนการทำงานก็ให้ขออนุญาตเข้าทำงานเพื่อติดตั้งรั้วแข็ง
กั้นระหว่างสายพานลำเลียงกับต้นกำลังไฮดรอลิค
ซึ่งรั้วแข็งที่ติดตั้งนี้ต้องเป็นรั้วทึบหรือตะแกรงตาเล็กมือเท้าของผู้ปฏิบัติงานสอดผ่านไม่ได้ เครนรางเลื่อนไฟฟ้า : ให้เลือกวิธีหยุดการใช้งาน
ตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ชุดมอเตอร์ขับเคลื่อนเครนตามแนวราง
เป็นลำดับแรก,
หากเป็นไปไม่ได้
ซึ่งเครนรางเลื่อนไฟฟ้าต้องทำงานหลายกิจกรรม หากหยุด ตัดแยกเบรกเกอร์และล็อค-เอาท์จะส่งผลกระทบสูงกับกระบวนการทำงาน
ก็ให้ปฏิบัติดังนี้
| - ประชุมร่วมระหว่างหัวหน้ากลุ่มงาน (job leader) ผู้กำกับดูแลงานซ่อมชุดต้นกำลังไฮดรอลิกส์ กับหัวหน้างานของพนักงานบังคับเครนและพนักงานบังคับเครน เพื่อไม่ให้บังคับเครนเข้าใกล้พื้นที่ซ่อมต้นกำลังไฮดรอลิกส์ ในระยะห้าเมตร (ใช้กฎห้าเมตร five meter rule)
- ที่อุปกรณ์บังคับเครน ให้แขวนป้ายทะเบียนแท๊ก (safety tag) ระบุข้อความในป้ายทะเบียน ห้ามบังคับเครนเข้าใกล้พื้นที่ซ่อมบำรุงต้นกำลังไฮดรอลิกส์ ในระยะห้าเมตร
|
- แนวทางตอบคำถามที่สี่ : วิธีปิดกั้น
ควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงานตามหลักการ abbi
(การปิดกั้นควบคุมพื้นที่แบบรอบทิศทาง)
ให้ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ด้วยแถบกั้นอันตราย
ขาว-แดง
ระยะห่างสองเมตร สี่ด้านรอบชุดต้นกำลังไฮดรอลิค
|
บันทึกเพิ่มเติม
:
กรณีไม่หยุด
ไม่ตัดแยกหรือไม่ล็อค-เอาท์เบรกเกอร์ของชุดขับสายพานลำเลียง
พื้นที่ระหว่างชุดต้นกำลังไฮดรอลิคกับสายพานลำเลียงให้ติดตั้งรั้วแข็ง
ส่วนอีกสามด้าน ให้ปิดกั้นด้วยแถบกั้นอันตราย ขาว-แดง
ในระยะสองเมตรโดยรอบ
|
งานฝึกอบรม แปลเอกสารเซฟตี้ งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ lockout tagout : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222 E-mail : sangtakieng@gmail.com | |
กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่หนึ่ง วิศวกรรมความปลอดภัย ล็อกเอาท์ แท๊กเอาท์ : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่สาม ขั้นตอนตัดแยกพลังงาน และทำล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่สี่ การตัดแยกระบบและขออนุญาตทำงาน : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่ห้า วิธีจัดทำคู่มือคำแนะนำ (WI) แนบใบขออนุญาตเข้าทำงาน : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่หก มาตรการควบคุมอุบัติเหตุในงานปฏิบัติการ : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่เจ็ด การจัดทำระบบล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ในสถานประกอบกิจการ : คลิ๊กตรงนี้ | ไปยังเมนู หลักสูตรที่ฝึกอบรมและสัมมนา คลิ๊กตรงนี้ |
|
|
|
|
VISIT |
สถิติวันนี้ |
13 คน |
สถิติเมื่อวาน |
127 คน |
สถิติเดือนนี้ สถิติปีนี้ สถิติทั้งหมด |
554 คน 48575 คน 930627 คน |
เริ่มเมื่อ 2012-10-14 |
| |
| | |