|
|
๔
|
| lockout tagout safety and permit to work system | วิศวกรรมความปลอดภัยล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์และการจัดทำระบบฯ | | ตอนที่สี่ การตัดแยกระบบและการขออนุญาตทำงาน | งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง | facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง | | บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) | อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน | e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222 |
ข้อควรระวัง ขยายความเพิ่มเติมสำหรับจุดตัดแยกระบบ | ก่อนเรียนรู้และทำความเข้าใจเนื้อหาลำดับถัดไป
ต้องมั่นใจว่าเข้าใจสาระสำคัญของหัวข้อที่ได้นำเสนอไปแล้วเสียก่อน
หากยังไม่เข้าใจดีพอ แนะนำให้กลับไปทบทวนองค์ความรู้เดิมก่อน จากนั้นจึงจะมาศึกษาเรียนรู้ต่อในลำดับนี้ : ให้ทำความเข้าใจเแผนภาพ และอ่านคำอธิบายด้านล่างเพื่อทบทวนหรือเพิ่มความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น |
| แผนภาพกรณีศึกษา
ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับจุดตัดแยกพลังงาน |
เงื่อนไขและคำอธิบายแผนภาพกรณีศึกษา :
แบริ่งของปั้มส่งกรดไฮโดรคลอริค
(HCL
hydrochloric acid) มีเสียงดัง ให้หยุดระบบส่งกรดและถอดมอเตอร์ออกมาตรวจสภาพ
เปลี่ยนแบริ่ง และให้ล้างกรอง (strainer) ก่อนเข้าปั้มเพื่อเตรียมความพร้อมใช้งานหลังคืนระบบ (กรณีศึกษา ต้องตัดแยกอุปกรณ์ใดบ้าง) | | - อุปกรณ์ทางไฟฟ้า : ออฟ-off เบรกเกอร์และล็อค
(5)
พลังงานไฟฟ้าของปั้ม
- อุปกรณ์ทางกล : ปิด-block วาล์วด้านดูดหมายเลขหนึ่ง
(1)
และล็อค
- อุปกรณ์ทางกล : ปิด-block วาล์วด้านดูดหมายเลขสอง
(2) และล็อค
- อุปกรณ์ทางกล : เปิด-bleed วาล์วด้านดูดหมายเลขสาม
(3)
และล็อค
- อุปกรณ์ทางกล : ปิด-block วาล์วด้านดูดหมายเลขสอง
(4) และล็อค
|
จากกรณีศึกษา สิ่งที่เราได้เรียนรู้คือ
การตัดแยกพลังงานไม่ได้หมายถึงการปิดกั้นเพียงอย่างเดียว
จะเห็นได้ว่าพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์ขับปั้ม เราใช้วิธีออฟและล็อค,
วาล์วหมายและ
1, 2, 4
ใช้วิธีปิด (block)
และวาล์วหมายเลข 3 เราใช้วิธีเปิดค้าง (bleed) ถ่ายทิ้งน้ำกรดไปบำบัดที่ส่วนงานบำบัดน้ำเสีย /อุปกรณ์ตัดแยกพลังงาน
ที่เรากำลังกล่าวถึงนี้ ต้องถูกระบุในเอกสารใบรายการตัดแยกพลังงานและตัดแยกระบบ
ดังที่กล่าวแล้วในตอนที่หนึ่ง นั่นเอง | | การตัดแยกพลังงานและล็อคเอาท์ระบบ | เจตนารมณ์ของตอนที่สอง เพื่อแนะนำให้ทราบว่าระบบ lockout tagout safety นำไปใช้งานได้อย่างไร หากเราประสงค์จะนำศาสตร์ด้านนี้มาลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุอย่างจริงจังแล้ว ก็ต้องมองความเป็นจริงในภาพรวมและทบทวนแบบตรงไปตรงมา (status review) เสียก่อน, ระบบนี้ถูกนำมาใช้และพัฒนาต่อเนื่องมาแต่ครั้ง 2531 กระทั่งวันนี้นับว่านานพอควร ทว่า lockout tagout safety ในบ้านเรากลับคืบเดินช้า ระบบเลยถูกนำมาใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากประเมินโดยหยาบประสิทธิภาพไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ เอกสารฉบับนี้ขอเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและจะนำเสนอในหัวข้อดังต่อไปนี้ | - ระบบ lockout tagout ใช้งานร่วมกับการขออนุญาตทำงาน
- วิธีจัดทำเอกสารแนบใบขออนุญาตทำงาน (เอกสารคู่มือคำแนะนำและใบรายการตัดแยกและล็อค-เอาท์ระบบ)
- กระบวนการคิดและวิธีเตรียมเอกสารคู่มือคำแนะนำ
- การควบคุมอุบัติเหตุแบบเลือกเป็นลำดับขั้น (hierarchy of control)
- การตัดแยกระบบและการขออนุญาตทำงาน (lockout tagout and permit to work) สำหรับงานเสี่ยงอันตรายสูง
|
การใช้ logout tagout ร่วมกับการขออนุญาตทำงาน | เจ็ดขั้นตอนเปิดงานในระบบขออนุญาตทำงาน | |
|
สามขั้นตอนปิดงาน |
|
อธิบายเจ็ดขั้นตอนการเปิดงาน (ลำดับนี้ให้ print-out และดูแบบฟอร์มใบขออนุญาตทำงาน ประกอบการอ่าน) | ขั้นตอนที่หนึ่ง ระบุขอบเขตและรายละเอียดของงานที่จะปฏิบัติ job detail : หมายถึงให้ระบุชื่อของงานที่จะทำและรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละองค์กรอาจกำหนดแบบฟอร์มแตกต่างกันบ้าง แต่ควรมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เป็นขั้นต่ำ | - ชื่องาน job title : เขียนระบุชื่องานในแบบฟอร์มว่าจะทำอะไร
ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนปะเก็นวาล์วด้านดูดของปั้มกรด หมายเลข 4 ส่วนงาน tank
farm, ซ่อมเพลาขับลูกกลิ้งสายพานลำเลียงส่วนงานบรรจุภัณฑ์
ฯลฯ เป็นต้น
- หมายเลขงาน job
id number : หมายเลขงานให้กำหนดขึ้นเอง
ใช้เฉพาะการหยุดซ่อมบำรุงตามแผนและการซ่อมบำรุงในคราวนั้นมีจำนวนงานเกินสิบงาน
เหตุผลคือจะทำให้การบริหารซ่อมบำรุงง่ายขึ้น, ส่วนกรณีที่ซ่อมเครื่องจักรขัดข้องในลักษณะ
break
down maintenance จะกำหนดหรือไม่กำหนดหมายเลขงานก็ได้ (optional
not mandatory)
- พื้นที่ปฏิบัติงาน working
area : ให้ระบุว่าทำงานที่ส่วนงานใดหรือพื้นที่ใด
ตัวอย่างเช่น ส่วนงานขึ้นรูปท่อเหล็ก โรงบำบัดน้ำเสีย
ฯลฯ เป็นต้น
- ชื่อเครื่องจักรหรือชื่ออุปกรณ์
equipment
: หมายถึงให้เขียนบันทึกลงในแบบฟอร์มว่าเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่จะเข้าไปทำงานชื่ออะไร
- วันเริ่มงานและกำหนดเสร็จ start
date-finish date : การขออนุญาตเข้าทำงานต้องมีแผนทำงาน
ในที่นี้จึงหมายถึงเวลาตามแผนและหากว่าระยะเวลาปฏิบัติงานจริงยาวกว่าที่แผนกำหนดไว้
ให้ประสานเจ้าของหน่วยงานเพื่อขออนุญาตขยายเวลาทำงาน
|
ขั้นตอนที่สอง เอกสารแนบเพื่อขออนุญาตทำงาน permit
to work elements : เอกสารแนบเพื่อขออนุญาตทำงานมีสองส่วนคือ | - เอกสารคู่มือคำแนะนำ
หมายถึงเอกสารที่มีสามองค์ประกอบคือ (1)
ระบุขั้นตอนปฏิบัติงานเป็นลำดับขั้น
work steps, (2) นำแต่ละขั้นตอนงานมาชี้บ่งและระบุอันตราย
hazard identified และ (3)
ขั้นตอนใดที่ชี้บ่งและถูกระบุว่าอาจเกิดอันตรายให้กำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน control measure : การเตรียมเอกสารคู่มือคำแนะนำ
จะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก จึงจะกล่าวถึงต่อจากเนื้อหาส่วนนี้
- ใบรายการตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ
(energy
isolation and lockout list) ซึ่งได้กล่าวถึงหลักการและวิธีการจัดทำโดยละเอียดแล้วในเนื้อหาข้างต้น
|
ขั้นตอนที่สาม ยื่นเอกสารขออนุญาตทำงานกับเจ้าของหน่วยงาน
permit
to work : เจ้าของหน่วยงานหรือเจ้าของพื้นที่
หมายถึงพนักงานบังคับบัญชาระดับต้น (front
line leader) ประจำพื้นที่นั้นๆ
และมีเงื่อนไขว่าพนักงานบังคับบัญชาผู้อนุญาตให้ทำงานต้องผ่านการฝึกอบรม (qualified
person) ไม่เช่นนั้นกระบวนการ
permit
to work ก็จะขาดคุณภาพ
เนื่องจากไม่มีหลักฐานแสดงคุณสมบัติของผู้อนุญาตว่ามีความรู้
มีความสามารถในด้านนี้หรือไม่ | เอกสารที่หัวหน้ากลุ่มงาน job
leader ต้องยื่นขออนุญาตทำงานมีทั้งหมดสามฉบับคือ
(1)
ใบขออนุญาตเข้าทำงาน
permit
to work ซึ่งถือว่าเป็นใบหลัก,
(2)
คู่มือคำแนะนำ
work
instruction และ
(3)
ใบรายการตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ |
เจ้าของหน่วยงานหรือเจ้าของพื้นที่ area
owner จะพิจารณาจากสองเงื่อนไข
ก่อนลงนามอนุญาต | - เอกสารที่ยื่นขออนุญาตเข้าทำงานครบหรือไม่
- หากครบ เอกสารได้คุณภาพหรือไม่
| หากเอกสารครบและได้คุณภาพเจ้าของหน่วยงานก็จะลงนามอนุญาต
หากว่ามีข้อแนะนำเกี่ยวกับมาตรการป้องกันควบคุมอุบัติเหตุที่สำคัญ ๆ
ก็สามารถเขียนให้คำแนะนำลงในลำดับนี้ได้ hazards
identified and additional control methods by area owner. |
ขั้นตอนที่สี่ หัวหน้ากลุ่มงาน job
leader ลงนามในใบขออนุญาตทำงานเพื่อแสดงว่ารับทราบว่าถูกอนุญาตให้ทำงานในขอบเขต
ตามที่ระบุในเอกสารได้ | ขั้นตอนที่ห้า หัวหน้ากลุ่มงาน job
leader ประสานช่างเทคนิคประจำพื้นที่เพื่อตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ
(การเตรียมใบรายการตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ,
ขั้นตอนการตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ
ได้กล่าวถึงโดยละเอียดแล้วในตอนที่หนึ่ง ณ ที่นี้เลยไม่กล่าวถึงอีก)
และต้องไม่ลืมว่าการทำงานในลำดับนี้ต้องมีขั้นตอนที่ชัดเจนและแม่นยำ | - ประสานช่างเทคนิคประจำพื้นที่เพื่อทำสำรวจจุดตัดแยกพลังงานและทำสำรวจการปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน
- หัวหน้ากลุ่มงานร่วมกับช่างเทคนิคประจำพื้นที่
(job
leader-authorized isolator) ร่วมกันจัดทำใบรายการตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ
- นำใบรายการตัดแยกพลังงานและตัดแยกระบบไปที่หน้างาน
ช่างเทคนิคตัดแยกพลังงานและหัวหน้ากลุ่มงานล็อคอุปกรณ์ตัดแยกพลังงานด้วยกุญแจสี equipment
padlock
- ร่วมทดสอบว่าระบบตาย
หากระบบตายก็ถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนที่ห้า สามารถทำงานในขั้นตอนต่อไปได้
ในทางตรงข้ามหากระบบไม่ตายให้หยุดการทำงาน, หัวหน้ากลุ่มงานเขียนใบรายงานอุบัติการณ์
incident
investigation report และการตัดสินใจหลังจากรายงานอุบัติการณ์
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการต้นสังกัด
- ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน
|
ขั้นตอนที่หก ประชุมกลุ่มก่อนเริ่มงาน 5-10
นาที (crew
briefed or tool box meeting) : หัวหน้ากลุ่มงานเป็นผู้นำการประชุม
ซึ่งการพูดคุยจะแบ่งเป็นสามส่วนคือ (1)
สรุปขอบเขตและขั้นตอนหลักๆ
ของงานที่จะทำ, (2)
อันตรายที่อาจเกิด-และ
(3)
มาตรการควบคุมอันตราย
และต้องไม่ลืมว่าการประชุมต้องให้ทีมมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอแนะหรือสอบถามได้ |
ขั้นตอนที่เจ็ด ผู้ปฏิบัติงานลงชื่อเข้าทำงานและแขวนกุญแจส่วนบุคล
(personal
padlock) ที่สถานีควบคุมการทำงาน : บอร์ดสถานีควบคุมการทำงาน lockout tagout and control station board แสดงดังภาพด้านล่างนี้ | | |
ลักษณะบอร์ดสถานีควบคุมการทำงาน :
หมายเลข
1 คลิ๊บใบขออนุญาตเข้าทำงานและคู่มือคำแนะนำ, หมายเลข
2 คลิ๊บใบรายการตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ,
หมายเลข
3 กล่องโปร่งใสทรงสี่เหลียมแบนสำหรับเก็บลูกกุญแจ equipment
padlock และหมายเลย
4 คือเหล็กบาร์สำหรับล็อคกล่อง ซึ่งจะถูกล็อคด้วยกุญแจสีสองชนิดคือ | - กุญแจสีหัวหน้ากลุ่มงาน สีเขียว job
leader padlock
- กุญแจสีผู้ปฏิบัติงาน สีแดง personal
padlock
|
การใช้บอร์ดสถานีควบคุมการทำงาน | - (ดูแบบฟอร์มใบขออนุญาตเข้าทำงานประกอบการอ่าน)
หลังจากตัดแยกพลังงานและล็อคเอาท์ระบบเรียบร้อยแล้ว
หัวหน้ากลุ่มงาน (job leader) นำใบขออนุญาตเข้าทำงานและเอกสารคู่มือคำแนะนำคลิ๊บไว้ที่
หมายเลข 1,
ใบรายการตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบคลิ๊บไว้ที่หมายเลข
2 และนำลูกกุญแจสี equipment padlock มาไว้ในกล่องหมายเลขสาม
- กล่องหมายเลขสาม
ที่บาร์ล็อคกุญแจสี (หมายเลข
4)
หัวหน้ากลุ่มงานล็อคกุญแจสี job leader padlock และผู้ปฏิบัติงานล็อคกุญแจสี
personal
padlock ก็ตัวเอง
ซึ่งการทำดังกล่าวนี้ ลูกกุญแจ equipment padlock ซึ่งอยู่ในกล่องไม่สามารถนำออกมาได้
เมื่อลูกกุญแจฯ นำออกมาไม่ได้ก็ไม่สามารถเปิดคืนระบบของเครื่องจักรที่ล็อคไว้ได้
จะคงสภาพให้เครื่องจักรตาย จนกว่าผู้ปฏิบัติงานจะทำงานแล้วเสร็จ
- หลังจากผู้ปฏิบัติงานแขวนและล็อคกุญแจสีของตนเองแล้วเสร็จ
ก็ให้ลงชื่อเข้าทำงานในขั้นตอนที่เจ็ดของแบบฟอร์มขออนุญาตเข้าทำงาน
และนับจากนี้ถือว่าเป็นการเปิดงาน สามารถเข้าทำงานในขอบเขตที่ขออนุญาตไว้ได้
|
อธิบายสามขั้นตอนการปิดงาน | จากแบบฟอร์มขออนุญาตเข้าทำงาน
จะเห็นได้ว่าการปิดยกเลิกการทำงานมีสามขั้นตอนคือขั้นตอนที่ 8 ถึงขั้นตอนที่
10,
ก่อนอธิบายสามขั้นตอนที่เหลือ
ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดยกเลิกการทำงานเสียก่อน การปิดยกเลิกการทำงานมี 3 รูปแบบคือ | - ปิดงานแบบงานแล้วเสร็จตามปกติ (completed
job) หมายถึงการจบงานที่ทำต่อเนื่องด้วยทีมทำงานเพียงทีมเดียว
- ปิดงานแบบส่งกะ (hand
over job) หมายถึงงานที่ทำไม่แล้วเสร็จด้วยทีมทำงานเพียงทีมเดียว
ฉะนั้นต้องส่งกะให้ทีมอื่นทำต่อกระทั่งงานแล้วเสร็จ
- ปิดงานแบบงานค้าง (inactive
job) หมายถึงงานทำให้แล้วเสร็จไม่ได้ด้วยเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างเช่นงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรโรงงานซึ่งขัดข้องและหยุดเอง (break-down)
อาจพบว่าหลังขออนุญาตเข้าทำงานและถอดรื้อส่วนที่ขัดข้องออกมาดู
พบว่าชิ้นส่วนเสียหายและต้องจัดหาอะไหล่สำรองหลายวัน
ดังนั้นจึงต้องปิดงานแบบงานค้าง เพื่อรออะไหล่
|
สามรูปแบบของการปิดงาน
ในเชิงเทคนิคปฏิบัติการจะมีข้อแตกต่างกันบ้าง หลังจากอธิบายจบถึงขั้นตอนที่สิบ จะอธิบายขยายความลงในรายละเอียดเกี่ยวกับการปิดยกเลิกการทำงานแบบส่งกะ (hand over job) และปิดงานแบบงานค้าง (inactive job) อีกครั้งหนึ่ง | |
ขั้นตอนที่แปด ยื่นขออนุญาตปิดจบการทำงาน
(area owner sing-off and accept complete job) หลังจากงานแล้วเสร็จ
หัวหน้ากลุ่มงานประสานผู้ปฏิบัติจัดเก็บและทำความสะอาดพื้นที่
ส่วนอุปกรณ์ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ฯ
ให้รื้อถอนยกเลิกหลังจากทดสอบการทำงานของเครื่องจักรแล้วเสร็จ
และหัวหน้ากลุ่มงานปฏิบัติงานต่อดังนี้ | - ให้ผู้ปฏิบัติงานลงชื่อออกจากใบขออนุญาตเข้าทำงาน,
ผู้ปฏิบัติงานและหัวหน้ากลุ่มงาน
ถอนคืนกุญแจออกจากบอร์ดสถานีควบคุมการทำงาน
- หัวหน้ากลุ่มงานนำลูกกุญแจ equipment
padlock, ใบรายการตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์
ออกจากบอร์ดควบคุมสถานีทำงาน
- หัวหน้ากลุ่มงาน
ประสานช่างเทคนิคเพื่อปลอดคืนระบบและทดสอบการทำงานของเครื่องจักร
- หัวหน้ากลุ่มงาน
ประสานเจ้าของหน่วยงานเพื่อขออนุญาตปิดยกเลิกการทำงาน
เจ้าของพื้นที่จะพิจารณาสองเงื่อนไขคือ (1)
พื้นที่เป็นระเบียบ
สะอาดหรือไม่-และ
(2)
เครื่องจักรกลับมาทำงานได้ดังเดิมหรือไม่
หากบรรลุสองเงื่อนไขดังกล่าว ก็จะลงชื่ออนุญาตปิดจบการทำงาน
|
ขั้นตอนที่เก้า หัวหน้ากลุ่มงานลงชื่อออกจากใบขออนุญาตทำงาน
(job
leader sign off after job completed) | ขั้นตอนที่สิบ หัวหน้ากลุ่มงานนำส่งชุดเอกสารขออนุญาตทำงาน
ให้ฝ่ายวางแผนซ่อมบำรุง เพื่อเก็บไว้ ๓ เดือนหรือเก็บไว้ตามระยะเวลาที่หน่วยงานกำหนด |
ขยายความ-การปิดงานแบบส่งกะหรือแบบเปลี่ยนกะ (hand over job) | การปิดงานแบบส่งกะหรือการปิดงานแบบเปลี่ยนกะ : การปิดงานลักษณะนี้มีทีมทำงานมากกว่าหนึ่งทีมโดยผลัดกะทำงานจนกว่าจะแล้วเสร็จ
หัวหน้ากลุ่มงานผู้ส่งกะปฏิบัติและกำกับดูแลดังนี้ | - ให้ผู้ปฏิบัติจัดเก็บและทำความสะอาดพื้นที่
ส่วนอุปกรณ์ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ฯ ให้คงสภาพเดิม
- ให้ผู้ปฏิบัติงานลงชื่อออกจากใบขออนุญาตทำงาน
และถอนคืนกุญแจออกจากบอร์ดสถานีควบคุมการทำงาน
- อธิบายส่งกะให้ครอบคลุมขอบเขตของงาน
ความคืบหน้าของงานและส่งมอบลูกกุญแจ job
leader padlock ให้หัวหน้ากลุ่มงานผู้รับกะ
- หัวหน้ากลุ่มงานผู้รับกะดำเนินงานต่อ
โดยเริ่มจากการประชุมกลุ่ม ซึ่งหมายถึงเริ่มจากขั้นตอนที่หกของใบขออนุญาตทำงาน
และเมื่อใดก็ตามที่งานแล้วเสร็จ
ให้หัวหน้ากลุ่มงานคนสุดท้ายเป็นผู้ขอปิดจบการทำงานกับเจ้าของหน่วยงาน
|
จะเห็นได้ว่าการทำงานลักษณะนี้อาจมีผู้ปฏิบัติงานเข้า-ออกหมุนเวียนหลายกะทำงาน
ทำให้ใบขออนุญาตทำงานในขั้นตอนที่เจ็ดไม่พอ
จึงต้องมีเอกสารใบเสริมสำหรับการลงชื่อเข้า-ออกของผู้ปฏิบัติงาน
(ใบขออนุญาตเข้าทำงาน
กรณีส่งกะ PTW
hand over form
ดูแบบฟอร์มแนบท้าย) | |
ขยายความ-การปิดงานแบบงานค้าง (inactive job) | การปิดงานแบบงานค้าง
ดังได้กล่าวถึงข้างต้นว่ามีเหตุจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด
ที่จะดำเนินการให้งานแล้วเสร็จไม่ได้ หัวหน้ากลุ่มงานจึงต้องกำกับดูแลและปฏิบัติดังนี้ | - ให้ผู้ปฏิบัติจัดเก็บและทำความสะอาดพื้นที่
- ผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้ากลุ่มงานลงชื่อออกจากใบขออนุญาตทำงาน
และถอนคืนกุญแจออกจากบอร์ดสถานีควบคุมการทำงาน
- ที่อุปกรณ์ตัดแยกพลังงาน
ที่แขวนล็อคกุญแจสีทุกจุดห้ามไม่ให้คืนระบบ ให้คงตำแหน่งตัดแยกพลังงานไว้ดังเดิม
แต่ให้ถอนกุญแจสีออกทั้งหมดและแขวนแทนด้วยป้ายทะเบียนเตือน (warning
tag)
- หัวหน้ากลุ่มงานจัดทำรายงานบันทึกงานค้าง (non-standard
even report)
- หัวหน้ากลุ่มงานยื่นชุดเอกสารขออนุญาตทำงานและใบ
NSER
non-standard even report ขอปิดจบการทำงานแบบงานค้าง กับเจ้าของหน่วยงาน
|
บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตเข้าทำงาน | - หัวหน้ากลุ่มงาน Job Leader
- เจ้าของหน่วยงาน (Plant Owner or Area Owner)
- ช่างเทคนิคผู้ถูกมอบหมายให้ตัดแยกระบบ (Authorized Isolator)
- ผู้ปฏิบัติงาน Worker
| หัวหน้ากลุ่มงาน (Job Leader) คือผู้ที่หน่วยงานมอบหมายให้เป็นผู้นำพนักงาน นำเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ ไปปฏิบัติการฯ ให้งานแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ทั้งนี้หัวหน้ากลุ่มงานจะเป็นผู้นำปฏิบัติการเปิดงานดังนี้ | - ศึกษาขอบเขตของงาน
- ศึกษาขั้นตอนปฏิบัติงาน
- จัดทำเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน (ใบขออนุญาตทำงาน, คู่มือคำแนะนำและใบรายการตัดแยกระบบ)
- ยื่นเอกสารเพื่อขออนุญาตทำงานจากเจ้าของหน่วยงาน (Plant Owner or Area Owner)
- หลังเจ้าของหน่วยงานลงนามอนุมัติให้พิจารณาดูว่าต้องตัดแยกระบบ หรือเปล่า, หากต้องตัดแยกระบบก็ประสานช่างเทคนิคผู้ถูกมอบหมายให้ตัดแยกระบบ (Authorized Isolator) ร่วมตัดแยกและทดสอบว่าระบบตายได้ถูกตัดแยกจริง ทั้งนี้จุดตัดแยกให้อ้างอิงตามที่ระบุไว้ในใบรายการตัดแยกระบบ
- ประชุมกลุ่ม และให้ผู้ปฏิบัติงาน (Worker) ลงนามในใบขออนุญาตเข้าทำงาน
|
หัวหน้ากลุ่มงาน ปิดงานหลังจากงานแล้วเสร็จ | - ให้พนักงานปฏิบัติการจัดเก็บและทำความสะอาดพื้นที่
- ประสานงานช่างเทคนิคผู้ถูกมอบหมายให้ตัดแยกระบบ ร่วมปลดคืนและทดสอบระบบว่ากลับมาทำงานได้ตามปกติหรือไม่
- ประสานงานเจ้าของหน่วยงาน ตรวจสอบพื้นที่ ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยของงานและลงนามปิดงาน
- หัวหน้ากลุ่มงานลงนามปิดงานและส่งมอบเอกสารสนับสนุนให้กับพนักงานฝ่ายวางแผนซ่อมบำรุง & วางแผนปฏิบัติการ
|
เจ้าของหน่วยงาน (Plant Owner or Area Owner) ก่อนอนุญาตเปิดงาน ให้ทำสำรวจพื้นที่ฯ, ตรวจสอบว่าเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงานที่ยื่นขออนุญาตทำงาน ครบหรือไม่, หากครบให้พิจารณาในรายละเอียดว่าเอกสารถูกต้องหรือไม่ กรณีเจ้าของหน่วยงานมีข้อสงสัยหรือต้องการให้หัวหน้ากลุ่มงานอธิบายประกอบการพิจารณา เป็นเรื่องที่กระทำได้ | ก่อนปิดงาน ให้ตรวจสอบความสะอาดเรียบร้อยของพื้นที่ปฏิบัติงานและตรวจสอบว่างานที่ปฏิบัตินั้นเรียบร้อยแล้วหรือยัง ก่อนลงนามปิดงาน |
ช่างเทคนิคผู้ถูกมอบหมายให้ตัดแยกระบบ (Authorized Isolator) มีหน้าที่ทบทวนจุดตัดแยกฯ ในใบรายการตัดแยกระบบ, ร่วมตัดแยกและทดสอบระบบร่วมกับหัวหน้ากลุ่มงานก่อนเปิดงาน, ร่วมปลดคืนระบบฯ และร่วมทดสอบการปลดคืนระบบกับหัวหน้ากลุ่มงานหลังจากงานแล้วเสร็จ | |
ผู้ปฏิบัติงาน (Workers) | - เข้าร่วมประชุมกลุ่มก่อนเปิดงาน หากไม่เข้าใจให้ถาม
- ลงนามเข้าทำงานในใบขออนุญาตทำงานก่อนเริ่มงาน และลงนามยกเลิกการปฏิบัติฯ หลังจากงานแล้วเสร็จ
- หากมีความผิดปกติหรือมีเหตุเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงาน ให้หยุดและแจ้งหัวหน้ากลุ่มงาน การปฏิบัติงานต่อหรือหยุดให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้ากลุ่มงาน
|
งานฝึกอบรม แปลเอกสารเซฟตี้ งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ lockout tagout : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222 E-mail : sangtakieng@gmail.com | |
กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่หนึ่ง ความเข้าใจการตัดแยกพลังงาน ล็อคเอาท์ระบบ : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่สอง อุปกรณ์ปิดกั้น ควบคุมพื้นที่และเซฟตี้แท็ก : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่สาม ขั้นตอนการตัดแยกพลังงาน และทำล็อคเอาท์ แท็กเอาท์ : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่ห้า วิธีจัดทำคู่มือคำแนะนำ (WI) แนบใบขออนุญาตเข้าทำงาน : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่หก มาตรการควบคุมอุบัติเหตุในงานปฏิบัติการ : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่เจ็ด การจัดทำระบบล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ในสถานประกอบกิจการ : คลิ๊กตรงนี้ |
|
|
|
|
VISIT |
สถิติวันนี้ |
96 คน |
สถิติเมื่อวาน |
109 คน |
สถิติเดือนนี้ สถิติปีนี้ สถิติทั้งหมด |
1251 คน 57436 คน 939488 คน |
เริ่มเมื่อ 2012-10-14 |
| |
| | |