Sangtakieng.com

 

 

lockout tagout safety and permit to work system 
วิศวกรรมความปลอดภัยล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์และการจัดทำระบบฯ
 
ตอนที่เจ็ด การจัดทำระบบล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ในสถานประกอบกิจการ
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)
อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน 
e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222

การจัดทำระบบล็อคเเอาท์ แท๊กเอาท์ในสถานประกอบกิจการมีหลายวิธี ไม่ได้กำหนดเป็นสูตรสำเร็จและวิธีการที่ตายตัวเสียทีเดียว หากแต่คงมีลักษณะที่คล้ายๆ กัน /สิ่งที่เป็นข้อจำกัดและอาจจะกลายเป็นปัญหาบานปลายคือทีมกรรมการจัดทำระบบ (working group or working committee) และตัวแทนฝ่ายบริหารซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามความคืบหน้าโครงการ (steering committee) ไม่เข้าใจดีพอ แล้วฝืนจัดทำระบบให้องค์กรนำไปใช้, ความไม่รู้จริง จะส่งผลกระทบโดยตรงให้กระบวนการทำงานขาดประสิทธิภาพ ผิดพลาด เสียเวลา เสียงบประมาณหรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้น ฯลฯ และไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ นั่นหมายถึงระบบที่ถูกสร้างขึ้นใช้งานจริงไม่ได้ คำแนะนำจึงต้องวนกลับไปที่เดิมคือทีมผู้สร้างระบบและตัวแทนฝ่ายบริหารซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามความคืบหน้าโครงการ ต้องศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจเชิงลึกเสียก่อน การศึกษาเรียนรู้เพื่อจัดทำระบบมีหลายวิธี ตัวอย่างเช่น
  • หาเอกสารที่เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ มีผลงานด้านงานล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์และเชื่อถือได้มาอ่านเอง
  • ศึกษาดูงานจากหน่วยงานอื่นหรือจากบริษัทที่มีกระบวนการทางธุรกิจใกล้เคียงกัน ซึ่งเขาประสบผลสำเร็จในการจัดทำระบบเรียบร้อยแล้ว
  • นำระเบียบปฏิบัติ (system procedure) จากบริษัทอื่นหรือบริษัทแม่ มาศึกษาและปรับใช้ให้เหมาะสมกับกระบวนการทำงานของบริษัท
  • ได้รับการฝึกอบรม จากวิทยากรที่รู้จริงและเคยมีผลงานในการจัดทำระบบล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์-ซึ่งวิธีนี้น่าจะมีต้นทุนต่ำสุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ขั้นตอน วิธีการจัดทำระบบล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์
  1. ผู้บริหารสถานประกอบกิจการต้องเป็นผู้กำกับดูแล & ติดตามความคืบหน้าโครงการโดยตำแหน่ง (steering person) กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทน ผู้ถูกมอบหมายต้องมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับจัดการ
  2. ผู้บริหารหรือตัวแทนผู้บริหาร ลงนามแต่งตั้งคณะทำงาน ๕-๗ คนเพื่อจัดทำระบบ (working committee or working group) และให้ศึกษา engineering knowledge ระบบล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์หรือมอบหมายเข้าร่วมฝึกอบรม
  3. คณะทำงานหรือคณะกรรมการโครงการจัดทำระบบฯ ต้องประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน เลขานุการหนึ่งคนและที่เหลือเป็นกรรมการ, ประธานกรรมการ ผู้จัดการฝ่ายผลิตหรือผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุงเป็นประธานโดยตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยหนึ่งคนเป็นเลขานุการและที่ปรึกษา วิศวกรไฟฟ้าวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญาตรีหนึ่งคนเป็นกรรมการและที่ปรึกษา
  4. คณะกรรมการ แบ่งความรับผิดชอบโครงการออกเป็น ๓ กลุ่มงานย่อย กลุ่มงานย่อยที่หนึ่งรับผิดชอบจัดทำระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ (lockout tagout and permit to work procedure) /กลุ่มงานย่อยที่สอง จัดซื้อจัดหากุญแจสี อุปกรณ์ช่วยล็อค ป้ายทะเบียนแท๊กและอุปกรณ์ปิดกั้นควบคุมพื้นที่และกลุ่มงานย่อยที่สาม รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์โครงการและฝึกอบรมระบบล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ให้กับพนักงานและผู้รับเหมา
  5. คณะทำงาน จัดทำแผนงานเสนอ steering person ซึ่งแผนดังกล่าวต้องระบุ ๓ กลุ่มงานที่กล่าวถึง แต่ละกลุ่มระบุหัวข้องานย่อยๆ ผู้รับผิดชอบและวันกำหนดเสร็จ
  6. ดำเนินงานโครงการตามแผน
  7. ประธานคณะกรรมการฯ ประชุมติดตามความคืบหน้าเป็นระยะ หัวข้อใดไม่เป็นไปตามแผนงานให้กำหนดมาตรการปรับแก้ (corrective action) และเสนอความคืบหน้าโครงการไปยังผู้บริหารหรือตัวแทนผู้บริหารเพื่อทราบ (steering person)
  8. ตรวจติดตามความสอดคล้องระบบล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ หัวข้อใดไม่สอดคล้องกับระบบ (lockout tagout and permit to work procedure) ให้กำหนดมาตรการปรับแก้
  9. หลังระบบแล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการจัดทำระบบ สรุป เสนอปิดโครงการและส่งมอบการรักษาระบบ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารโรงงาน

ขยายความ รายละเอียดที่ ๓ กลุ่มงานต้องทำ
กลุ่มงานย่อยที่หนึ่ง : จัดทำระเบียบปฏิบัติ (lockout tagout and permit to work procedure) 
ระเบียบปฏิบัติต้องมีตัวแทนผู้จัดทำลงนามหนึ่งคน ผู้ทบทวนมีได้หลายคนเช่น ๓-๕ คนและผู้อนุมัติหนึ่งคน, ในรายละเอียดของระเบียบปฏิบัติควรมีหัวข้อดังต่อไปนี้

  • เจตนารมณ์ของระเบียบปฏิบัติ objectives
  • ขอบเขต scope
  • คำนิยาม definitions
  • บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตัวแทนฝ่ายบริหาร management role and responsibilities
  • ระเบียบปฏิบัติหมวดที่ ๑ :  คุณสมบัติ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องในงานปฏิบัติการซึ่งเกี่ยวข้องกับการขออนุญาตเข้าทำงานและการตัดแยกระบบ (personal qualification and duties of principles)
  • ระเบียบปฏิบัติหมวดที่ ๒ : อุปกรณ์ตัดแยกระบบ อุปกรณ์ช่วยในการตัดแยกระบบ ป้ายทะเบียน อุปกรณ์ปิดกั้นพื้นที่และแนวปฏิบัติในการใช้อุปกรณ์ (locking device, tag, safety tape and lockout guide)
  • ระเบียบปฏิบัติหมวดที่ ๓ : วิธีตัดแยกระบบ วิธีปิดกั้นควบคุมพื้นที่และวิธีควบคุมการทำงานร่วมในพื้นที่เดียวกัน (energy isolation, lockout, barricading and interaction control method)
  • ระเบียบปฏิบัติหมวดที่ ๔ : เอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน วิธีจัดทำเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน (supporting document and create of supporting document)
  • ระเบียบปฏิบัติหมวดที่ ๕ : การขออนุญาตเข้าทำงานและการยกเลิกการทำงาน (lockout tagout and permit to work)
  • ระเบียบปฏิบัติหมวดที่ ๖ : หลักสูตรฝึกอบรมและความต้องการทางด้านฝึกอบรม (course outlines and training needs)
  • ระเบียบปฏิบัติหมวดที่ ๗ : การตรวจติดตามความปลอดภัย (auditing of lockout tagout and PTW system)
 

กลุ่มงานย่อยที่สอง : จัดซื้อจัดหากุญแจสี อุปกรณ์ช่วยล็อค ป้ายทะเบียนแท๊ก อุปกรณ์ปิดกั้นควบคุมพื้นที่และดำเนินงานการตรวจติดตามด้านความปลอดภัย
  • กุญแจสี equipment padlock, personal padlock และ job leader padlock จำนวนเท่าไร ซึ่งจำนวนกุญแจสีจะแปรผันตรงกับจำนวนพนักงานฝ่ายปฏิบัติการของหน่วยงานนั้นๆ
  • อุปกรณ์ช่วยล็อคอุปกรณ์ทางไฟฟ้า อุปกรณ์ช่วยล็อคอุปกรณ์ทางกล
  • บอร์ดควบคุมสถานีทำงาน
  • อุปกรณ์ปิดกั้นพื้นที่ปฏิบัติงานแบบสายเทปกั้น ซึ่งมีสองแบบคือเทปกั้นเตือนและเทปอันตราย
  • รัวแข็งแบบล้อเลื่อนหรือแบบอื่นใดก็ได้ที่ใช้งานได้สะดวก ปริมาณเท่าที่จำเป็น
  • จัดทำ จัดหาหรือจัดซื้อป้ายทะเบียนแท๊ก ประเภทป้ายทะเบียนเตือน ป้ายทะเบียนอันตราย ป้ายทะเบียนอนุญาตบุคคล ฯลฯ
ดำเนินงานตรวจติดตามด้านความปลอดภัยให้ได้คุณภาพและมีความถี่เหมาะสม ทั้งนี้ให้นำข้อมูลการตรวจติดตามความปลอดภัยนำเสนอในคณะกรรมการจัดทำระบบเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องเป็นลำดับถัดไป

กลุ่มงานย่อยที่สาม : เตรียมการและจัดการฝึกอบรมให้พนักงานฝ่ายปฏิการบัติการและผู้รับเหมาฝ่ายปฏิบัติการที่ทำงานเป็นการประจำ
  • จัดทำแผนเตรียมการฝึกอบรมและแผนฝึกอบรม
  • เอกสารนำเสนอ Power Point
  • เอกสารประกอบการฝึกอบรม
  • ชุดอุปกรณ์ lockout tagout and permit to work สำหรับงานฝึกอบรม
  • เครื่องจักรและพื้นที่ฝึกอบรมภาคสนาม-ภาคปฏิบัติ
  • ดำเนินงานฝึกอบรมตามแผน

บันทึกเพิ่มเติม หลักสูตรฝึกอบรมต้องบรรยาย สาธิต ดูวีดีโอ เวิร์คช๊อฟหรือฝึกปฏิบัติจริงภาคสนาม : ระยะเวลาฝึกอบรม ๑๒ ชั่วโมง (เท่ากับสองวัน) โดยมีเนื้อหาและหัวข้อฝึกอบรมไม่ต่ำกว่านี้

การตัดแยกพลังงานและการล๊อค-เอาท์ระบบ Energy Isolation and Lockout

  • ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับการตัดแยกพลังงานและล็อคเอาท์ระบบ
  • ป้ายทะเบียนแท๊ก ป้ายความปลอดภัย อุปกรณ์ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน กุญแจสี อุปกรณ์ส่วนควบของกุญแจสีและอุปกรณ์ช่วยล๊อค
  • กระบวนการคิด วิธีจัดทำใบรายการตัดแยกระบบ (isolation and lockout list)
  • การใช้ป้ายทะเบียนแท๊ก ประเภทเตือน ประเภทอันตรายและป้ายทะเบียนแท๊กประเภทอื่นๆ
  • วิธีตัดแยกอุปกรณ์ปิดกั้น อุปกรณ์ปลอดปล่อยพลังงานและการล็อค-เอาท์ระบบ (equipment isolators)
  • เวิร์คช๊อฟ-ดูวิดีโอเกียวกับป้ายทะเบียน การตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ 

การใช้ระบบตัดแยกพลังงาน ล็อค-เอาท์ระบบร่วมกับการขออนุญาตทำงาน
  • ลักษณะและระดับปฏิบัติการกับเครื่องมือกล เครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักรอุตสาหกรรม
  • เอกสารตัดแยกพลังงาน เอกสารสนับสนุนการขออนุญาตเข้าทำงาน เทคนิค checklist และการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA)
  • hierarchy of control วิธีเลือกมาตรการควบคุมอันตรายเป็นลำดับขั้นและวิธีควบคุมอันตรายในงานปฏิบัติการโรงงาน ปฏิบัติการอุตสาหกรรม
  • lockout-tagout, วิธีควบคุมอันตรายโดยวิธีบริหารจัดการและวิธีควบคุมอันตรายโดยวิธีทางวิศวกรรม  
  • บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าของพื้นที่ หัวหน้ากลุ่มงาน ช่างเทคนิคผู้มีหน้าที่ในงานตัดแยกระบบและผู้ปฏิบัติงาน
  • ดูวีดีโอ กรณีศึกษาอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดจากข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการตัดแยกระบบ การขออนุญาตเข้าทำงานและทำเวิร์คช๊อฟจากกรณีศึกษา 
 

ขั้นตอนการขออนุญาตทำงาน ขั้นตอนการขออนุญาตเลิกจบการทำงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง วิธีปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสากล
  • วิธีจัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน เอกสารขออนุญาตทำงาน 
  • ขั้นตอนการขออนุญาตทำงานสำหรับปฏิบัติการงานทั่วไปและงานเสี่ยงอันตรายสูง แบบเจ็ดบวกสาม
  • สามขั้นตอนเพื่อขออนุญาตเลิกจบการทำงาน
  • วิธีปิดงานแบบปกติ วิธีปิดงานแบบส่งกะและวิธีปิดงานแบบงานค้าง
  • ดูวีดีโอเรื่องการขออนุญาตทำงาน (permit to work safety)
  • และสาธิตหรือปฏิบัติการ การขออนุญาตทำงานและการขอนุญาตเลิก-จบการทำงาน
  • วิศวกรรมความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง กฎหมายและวิธีปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายประเทศ
ฝึกปฏิบัติภาคสนาม ฝึกปฏิบัติจริงหรือปฏิบัติคล้ายจริงภาคสนาม 
  • ทำสำรวจภาคสนาม การเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อจัดทำใบรายการตัดแยกพลังงาน-ล็อคเอาท์ระบบและเอกสารขออนุญาตทำงาน
  • ฝึกปฏิบัติ ตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ
  • ฝึกปฏิบัติ จัดทำเอกสารแนบใบขออนุญาตทำงานและการขออนุญาตทำงาน
  • ฝึกปฏิบัติ ขออนุญาตทำงาน ขออนุญาตเลิกจบการทำงานแบบเจ็ดบวกสาม ขออนุญาตจบเลิกการทำงานแบบปกติ แบบส่งกะและการขออนุญาตจบเลิกการทำงานแบบงานค้าง
  • สรุปการฝึกภาคสนาม 

 

งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบ lockout tagout safety : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com

กลับหน้าแรกคลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่หนึ่ง ความเข้าใจการตัดแยกพลังงาน ล็อคเอาท์ระบบ : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่สอง อุปกรณ์ปิดกั้นพื้นที่ แท๊ก อุปกรณ์ตัดแยกพลังงาน : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สาม ขั้นตอนการตัดแยกพลังงานและทำล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สี่ การตัดแยกระบบและขออนุญาตเข้าทำงาน : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่ห้า วิธีจัดทำคู่มือคำแนะนำ (WI) แนบใบขออนุญาตเข้าทำงาน : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่หก มาตรการควบคุมอุบัติเหตุในงานปฏิบัติการ  : คลิ๊กตรงนี้ 
  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 111 คน
 สถิติเมื่อวาน 109 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
1266 คน
57451 คน
939503 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong