Sangtakieng.com

 

lifting equipment operations-introduction & general knowledge
ตอนที่หนึ่ง ประเภทอุปกรณ์ช่วยยกและความเข้าใจทั่วไป 
 
งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail : sangtakieng@gmail.com  mobile 093 7719222 
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)
อบรม สัมมนา ที่ปรึกษางานจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน
e-mail : sangtakieng@gmail.com  mobile 093 7719222 


หัวข้อหรือเมนูที่จะนำเสนอ
 



ประเภทอุปกรณ์ช่วยยกและความเข้าใจทั่วไป 
 
ขอบเขตและเจตนารมณ์ของเอกสาร เพื่อแนะนำให้รู้จักชนิดของอุปกรณ์ช่วยยก ข้อมูลทางวิศวกรรมความปลอดภัยและการใช้งานอุปกรณ์ช่วยยกตามหลักการที่ถูกต้อง การนำเสนอเน้นตามแนวทางสากล หมายความว่านำเสนอข้อมูลควบคู่ระหว่างทฤษฎีเชิงปฏิบัติการและข้อมูลจริงที่ได้จากการปฏิบัติภาคสนาม ซึงการเก็บข้อมูลภาคสนามใช้เวลาประมาณ ๕-๗ ปี จริงแล้วบางข้อมูลก็มีปนอยู่ในภาคสนามมาแล้วช้านาน หากแต่ไม่พบว่านักวิชาการ ผู้ชำนาญการหรือบุคคลใด เขียนไว้ให้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ปรากฏชัด เมื่อขาดฐานข้อมูล ทำให้การพัฒนาต่อยอดไปสู่ระดับที่สูงขึ้นเป็นไปช้าลง ฉะนั้นเอกสารฉบับนี้นอกจากจะเป็นแนว lifting equipment, the code of practice แล้ว จึงมีวาระแฝงซ่อนเร้นเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ช่วยยกในงานเครนไว้เพื่อการพัฒนาต่อยอดพัฒนาต่อยอดด้วย

อุปกรณ์ช่วยยกในงานเครนและรอกที่ใช้ยกของแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
  • อุปกรณ์อุปกรณ์แบบมาตรฐาน standard lifting equipment
  • อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นตามความเหมาะสมใช้งาน non-standard lifting equipment

๑. อุปกรณ์ช่วยยกแบบมาตรฐาน standard lifting equipment

อุปกรณ์ช่วยยกแบบมาตรฐานคืออุปกรณ์ช่วยยกที่มีกระบวนการสร้างขึ้นตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล ซึ่งผู้ผลิตจะเลือกใช้มาตรฐานใดที่โลกยอมรับก็ได้และผลิตภัณฑ์ต้องออกใบประกันคุณสมบัติ (equipment certificate) ประกอบการจำหน่ายให้ผู้ใช้ด้วย ตัวอย่างอุปกรณ์ช่วยยกแบบมาตรฐาน


  • สลิงเหล็ก galvanize wire rope
  • สลิงเส้นใยสังเคราะห์ synthetic sling
  • ชุดโซ่ยก lifting chain
  • อายโบลท์ eye bolt
  • แช็คเคิล shackle แบบตัวดี, แบบโบว์และแบบใช้งานกับสลิงเส้นใยสังเคราะห์แบบแบน D shackle, Bow shackle and Webbing sling shackle
  • เพลทแคลมป์ plate clamp
  • ห่วงคล้องตะขอยกแบบเดี่ยว master link
  • ห่วงคล้องตะขอยกแบบชุด master link assembly ฯลฯ เป็นต้น  


๒. อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นตามความเหมาะสมใช้งาน
 
ด้วยอุปกรณ์ช่วยยกแบบมาตรฐานอาจมีข้อจำกัด ไม่ได้เหมาะสมหรือไม่ได้สะดวกกับการใช้ยึดเกาะสำหรับทุกชิ้นงาน การทำงานด้านอุตสาหการจำเป็นต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพการใช้งานร่วมด้วย ตัวอย่างข้อจำกัดของอุปกรณ์ช่วยยกแบบมาตรฐาน  

  • ไม่เหมาะยึดเกาะกับบางชิ้นงาน
  • ส่งผลให้บางลักษณะงาน ขั้นตอนมากเกิดความล่าช้า เกิดการรอคอย (delay or idle time) ในกระบวนการทำงาน
  • ใช้คนทำงานมากเกินความจำเป็น
  • มีภาวะเสี่ยงกับผู้ยึดเกาะวัสดุที่ต้องเข้าไปทำงานในพื้นที่จัดเก็บวัสดุ
  • เหตุผลอื่นๆ ในการกำกับดูแลด้านความปลอดภัย ฯลฯ   

ดังนั้น อุปกรณ์ช่วยยกซึ้งหมายรวมถึงถึงหูหิ้วรับแรง จึงถูกพัฒนาขึ้น


เงื่อนไขการสร้างอุปกรณ์ช่วยยกที่เป็นแบบสร้างขึ้นตามความเหมาะสมใช้งาน 
 
  • มีแบบอุปกรณ์ ซึ่งลงนามรับรองแบบโดยวิศวกร ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร สาขาเครื่องกล โยธาหรือสาขาวิศวกรรมโครงสร้าง (structural engineer)
  • สร้างตามแบบ, กรณีสร้างอุปกรณ์โดยเชื่อมประกอบ ช่างเชื่อมต้องมีใบ certificate
  • อุปกรณ์ต้องผ่านการตรวจทดสอบก่อนนำมาใช้งาน ซึ่งเอกสารตรวจทดสอบต้องลงนามรับโดยวิศวกร หากอุปกรณ์ใช้วิธีเชื่อมประกอบ ให้ตรวจทดสอบแนวเชื่อมด้วยวิธีใช้น้ำยาแทรกซึม (NDT non-distractive testing)  


๓. อุปกรณ์ช่วยยกที่ถูกต้องและพร้อมใช้งาน
 
อุปกรณ์ช่วยยกที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมความปลอดภัย ถูกต้องตามกฎหมายและถูกต้องตามหลักปฏิบัติสากลและมีความพร้อมใช้งาน ต้องประกอบด้วย ๓ เงือนไข  

  • นำเข้ามาใช้ในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ หมายความว่าอุปกรณ์แบบมาตรฐาน นำเข้ามาใช้พร้อม certificate ส่วนอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นตามความเหมาะสมใช้งาน นำเข้ามาใช้งานพร้อมแบบและเอกสารตรวจทดสอบ (equipment inspection)
  • ผ่านการตรวจสภาพตามระยะเวลา (inspection interval) /และ
  • ผ่านการตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวันโดยผู้ใช้ (daily inspection)

บันทึกเพิ่มเติม : เพื่อให้เข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์มากขึ้น หลังจากนี้จะขยายความ ๒ ส่วนเพิ่มเติมคือ การตรวจสภาพตามระยะเวลา (inspection interval) และวิธีตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวันโดยผู้ใช้ (daily inspection)


การตรวจสภาพอุปกรณ์ช่วยยกตามระยะเวลา inspection interval

กฎหมายและมาตรฐานสากล ไม่พบว่าเอกสารฉบับใดระบุความถี่ในการตรวจสภาพอุปกรณ์ช่วยยกชัดเจน จึงพบแต่เพียงองค์กรเครือข่ายธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีสายวิชาการประจำองค์กร จัดทำขึ้นซึ่งข้อมูลเหล่านั้นมาจากการศึกษา เก็บข้อมูลและจัดทำเป็นเอกสาร lifting equipment, the code of practice เท่านั้น โดยภาพรวมของการตรวจสภาพอุปกรณ์ช่วยยกตามระยะเวลา จึงให้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ให้พิจารณาจากความถี่ในการใช้งาน : ตัวอย่างเอกสารจากภาคอุตสาหกรรมในออสเตรเลีย



การตรวจสภาพอุปกรณ์ช่วยยกก่อนใช้งานประจำวัน daily inspection

เจตนารมณ์เพื่อต้องการให้อุปกรณ์ช่วยยกถูกตรวจสภาพด้วยตาเปล่า (visual check or visual inspection) ก่อนใช้งานประจำวันโดยผู้ใช้ ในส่วนของรายละเอียดว่าตรวจสภาพอย่างไร จะอธิบายประกอบภาพ รวมไว้กับอุปกรณ์ช่วยยกแต่ละชนิด ซึ่งจะกล่าวถึงในลำดับถัดไป 


งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)  Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังตอนที่ ๒ สลิงเหล็ก wire rope : คลิ๊กตรงนี้

ไปยังตอนที่ ๓ สลิงเส้นใยสังเคราะห์ sythetic sling : คลิ๊กตรงนี้

ไปยังตอนที่ ๔ ชุดโซ่ยก chain sling : คลิ๊กตรงนี้

ไปยังตอนที่ ๕ วิธีประกอบชุดยกสลิง การใช้งานและการคำนวณโหลด : คลิ๊กตรงนี้ 

ไปยังตอนที่ ๖ แช็คเคิล อายโบลท์และเพลทแคลมป์ :  คลิ๊กตรงนี้

ไปยังตอนที่ ๗ รอกโซ่ chain block : คลิ๊กตรงนี้

ไปยังตอนที่ ๘ บีมยกและถังหูหิ้วรับแรง lifting beam, work box : คลิ๊กตรงนี้

 
  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 98 คน
 สถิติเมื่อวาน 109 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
1253 คน
57438 คน
939490 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong