Sangtakieng.com

lifting equipment operations-synthetic sling
ตอนที่สาม สลิงเส้นใยสังเคราะห์ 
 
งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง 
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail : sangtakieng@gmail.com  mobile 093 7719222 
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)
อบรม สัมมนา ที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน 
e-mail : sangtakieng@gmail.com  mobile 093 7719222
 

สลิงเส้นใยสังเคราะห์ผลิตใช้ยึดเกาะวัสดุในงานเครนมีสองรูปร่างคือสลิงแบบกลมกับสลิงแบบแบน จุดเด่นของสลิงประเภทนี้คือ สามารถบิดงอได้สะดวก ไม่ทำให้วัตถุที่ยกเสียหาย ยืดหยุ่นดูดซับแรงกระตุกโหลดที่เกิดจากการยกได้ดี  



ป้ายทะเบียนสลิงแท็ก (sling tag) ขาดหายหรือข้อความซีดจาง เป็นอันเลิกใช้สลิงเป็นการชั่วคราว สามารถนำกลับมาใช้ได้หลังจากถูกเปลี่ยนใหม่ ข้อมูลที่จำเป็นมีดังนี้
  • หมายเลขเส้นสลิง serial number
  • ความสามารถรับโหลด WLL working load limit
  • ตารางรับน้ำหนัก load chart
  • ขนาดเช่นกว้าง ยาว dimension
  • มาตรฐานที่นำมาใช้เพื่อการผลิต standard reference
  • วัสดุที่ใช้ผลิต material

๑. ชนิดของเส้นใยสังเคราะห์ที่ใช้ทำสลิง type of materials
 
  • nylon สลิงที่ทำจากไนลอน (เช่น polyamide) ทนต่อการกัดกร่อนของด่างแต่ไม่ทนกรด เมื่อเปียกน้ำความสามารถในการรับแรงจะลดลง ๑๕ ถึง ๑๘ เปอร์เซ็นต์ ควรใช้งานที่ (-) ๔๐ ถึง ๑๐๐ °C
  • polyester วัสดุ polyester ทนต่อการกัดกร่อนที่รุนแรงจากกรด ด่าง นอกจากนี้ยังทนต่อภาวะที่มีน้ำมันปนเปื้อนและตัวทำละลายที่มาจากสารอินทรีย์อีกด้วย ควรใช้งานที่ช่วงอุณหภูมิ (-) ๔๐ ถึง ๑๐๐ °C
  • polypropylene ทนการกัดกร่อนของกรดด่าง แต่ไม่ทนฯ เมื่อสัมผัสตัวทำละลายที่มาจากสารอินทรีย์ ควรใช้งานที่ช่วงอุณหภูมิ (-) ๔๐ ถึง ๘๐ °C
  • aramid polyamide ทนการกัดกร่อนของเคมีได้สูงมาก ทนอุณหภูมิสูงถึง ๑๓๐ °C ข้อด้อยคือยืดตัวได้น้อย อุณหภูมิใช้งาน (-) ๕๐ ถึง ๑๓๐ °C


๒. การตรวจสภาพ synthetic sling inspections  
  • chemical damage โดนเคมีกัดกร่อน
  • heat damage โดนความร้อนหรือโดนเปลวไฟ
  • cut and contusions โดนบาด
  • local abrasion damage รอยชำรุด รอยลากครูด
  • face cuts โดนตัดหรือบาดด้านหน้า
  • punctures or snags โดนแทงทะลุ มองลอดผ่าน
  • tensile break เป็นตำหนิจากการกระตุกและขาดเสียหายบางส่วน
  • label damage ป้ายทะเบียนเสียหายหรือข้อความอ่านได้ไม่ชัดเจน  


 

คำอธิบายเพิ่มเติม : การยึดเกาะวัสดุโดยใช้สลิงเส้นใยสังเคราะห์ มีสามวิธีหลักเช่นเดียวกับการยึดเกาะวัสดุด้วยสลิงเหล็ก กรณีใช้งานสลิงโดยดูเทียบความสามารถในการรับโหลด ต้องใช้โหลดชาร์ทให้ตรงประเภท ใช้ผิดไม่ได้, กรณีชิ้นงานมีขอบคมหรือขอบเหลียม ให้ใช้วัสดุอ่อนเหนียวเช่นแผ่นยาง รองขอบคมหริขอบเหลียมก่อนยกเคลื่อนย้ายเสมอ การยึดเกาะ ๓ วิธีหลักๆ
 
  • ยึดเกาะขาเดียวสลิงอยู่ตามแนวดิ่ง vertical hitch
  • ยึดเกาะแบบรัดหิ้วปลายเดียว choker hitch
  • ยึดเกาะแบบอุ้มหิ้วสองปลาย basket hitch

 

๓. คำแนะนำและข้อระวังการใช้งาน care and use   
 
  • ห้ามใช้อุปกรณ์ช่วยยกเกินค่ารับโหลดที่กำหนดไว้ในป้ายทะเบียนแท็ก Never overload the equipment.
  • ห้ามใช้อุปกรณ์ ที่ไม่มีป้ายทะเบียนแท็ก Do not use if ID tag is removed.
  • อุปกรณ์ช่วยยก ต้องผ่านการตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวันโดยผู้ใช้ (หมายถึงผู้ใช้ที่ผ่าการฝึกอบรมและมี certificate) Inspect sling for damage prior to use.
  • ห้ามใช้อุปกรณ์ที่สภาพไม่พร้อมใช้งาน ชำรุด Do not use sling if there is any sign of cut webbing, snagging, heat or chemical damage, excessive wear, damaged seams, any other defect or presence of grit, abrasive materials or other deleterious matter.
  • ไม่ผูกสลิงให้ขมวดปม Do not tie knots in sling webbing.
  • เมื่อใช้สลิง ให้ใช้วัสดุอ่อนป้องกันขอบคมหรือขอบเหลี่ยมและใช้อุปกรณ์ป้องกันกันลื่นไถลระหว่างผิวสัมผัสระหว่างสลิงกับผิวชิ้นงาน Protect sling webbing from sharp edges of load. Use protective sleeves.
  • ห้ามใช้สลิงเส้นใยสังเคราะห์ที่อุณหภูมิเกิน ๙๐ องศาเซนเซียส Do not expose slings to temperatures above 90 C
  • ไม่ให้วัสดุหรือของแข็งปลายแหลมเสียบคาที่สลิง Do not allow abrasive or other damaging grit to penetrate the fibres.
  • เก็บสลิงให้ห่างจากกรด ด่างเข้มข้นและสารประกอบฟีนอล Keep away from acid, strong alkalis and phenolic compounds. 

งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)  Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังตอนที่ ๑ ประเภทอุปกรณ์ช่วยยกและความเข้าใจทั่วไป : คลิ๊กตรงนี้ 
ไปยังตอนที่ ๒ สลิงเหล็ก wire rope : คลิ๊กตรงนี้

ไปยังตอนที่ ๔ ชุดโซ่ยก chain sling : คลิ๊กตรงนี้

ไปยังตอนที่ ๕ วิธีประกอบชุดยกสลิง การใช้งานและการคำนวณโหลด : คลิ๊กตรงนี้  

ไปยังตอนที่ ๖ แช็คเคิล อายโบลท์และเพลทแคลมป์ :  คลิ๊กตรงนี้

ไปยังตอนที่ ๗ รอกโซ่ chain block : คลิ๊กตรงนี้  
 
  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 138 คน
 สถิติเมื่อวาน 133 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2645 คน
23976 คน
906028 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong