Sangtakieng.com

 

lifting equipment operation-sling component
ตอนที่ห้า วิธีประกอบชุดยกสลิง การใช้งานและการคำนวนโหลด
 
รวบรวม เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง 
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail : sangtakieng@gmail.com  mobile 093 7719222 
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)
อบรม สัมมนา ที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน 
e-mail : sangtakieng@gmail.com  mobile 093 7719222
 

อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นเส้นเช่น สลิงเหล็ก สลิงเส้นใยสังเคราะห์ โซ่ ฯลฯ จะประกอบเป็นชุดยกได้ ๔ แบบคือ สลิงขาเดียว สลิงสองขา สลิงสามขาและสลิงสี่ขา (one leg sling, two leg sling, three leg sling and four leg sling) 



๑. ภาวะรับโหลดของชุดยกสลิง
 

ภาวะรับโหลดในงานวิศวกรรมมี ๒ ลักษณะคือภาวะรับโหลดแบบสแตติกและภาวะรับโหลดแบบไดนามิกส์ (static load, dynamic load) ภาวะรับโหลดแบบสแตติกคือภาวะรับแรงที่โหลดอยู่นิ่ง แรงจะถูกส่งถ่ายลงพื้นล่างลักษณะกระจายแรง ส่วนภาวะรับโหลดแบบไดนามิกส์ โหลดจะแขวนลอยและเคลื่อนที่ การส่งถ่ายแรงจะเคลื่อนที่สลับกันไปมาจนกว่าของที่ยกถูกวางนิ่งบนพื้น ในที่นี้จะกล่าวถึงไดนามิกส์โหลดที่เกิดจากงานขนย้ายของโดยใช้เครนเท่านั้น





ภาวะรับโหลดของสลิงในงานขนย้ายด้วยเครนจะเป็นแบบไดนามิกส์ จึงสรุปเกี่ยวกับชุดยกสลิงเหล็ก ชุดยกสลิงเส้นใยสังเคราะห์และโซ่ดังนี้
 
  • สลิงขาเดียว one leg sling : รับโหลดขาเดียว
  • สลิงสองขา two leg sling : รับโหลดสองขา
  • สลิงสามขา three leg sling : รับโหลดสองขา
  • สลิงสี่ขา four leg sling : รับโหลดสองขา


๒. วิธีคำนวณโหลด
 
กระบวนการการคิดโหลดชาร์ทของสลิง จะใช้ศาสตร์ทางวิชาตรีโกณมิติร่วมด้วย มุมยึดเกาะที่ต่างกัน ค่ารับโหลดของสลิงก็จะต่างกัน หมายความว่าหากมุมใต้ตะขอยกกางมากขึ้น สลิงจะรับโหลดได้ลดลง ตารางโหลดชาร์ทจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับผู้ใช้สลิง วิธีอื่น นอกจากอ่านโหลดชาร์ทคือวิธีคำนวณ ในที่นี้จะแนะนำการคำนวณโดยประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางด้านตรีโกณมิติ, การประยุกต์ใช้ตรีโกณมิติกับการคำนวณโหลดของสลิง เริ่มจากทบทวนความเข้าใจตามลำดับดังนี้   
  • รู้จักทฤษฎีสามเหลียมมุมฉาก มุมภายในสามเหลียมมุมฉากรวมกันแล้วจะได้ = ๑๘๐ องศาและมีมุมฉากกางคงที่ ๙๐ องศา
  • การใช้วิชาตรีโกณมิติ ต้องรู้ค่ามุม ๒ มุมและด้าน ๓ ด้าน จะอธิบายประกอบภาพต่อเนื่องจากลำดับนี้
  • รู้จักสูตร ๓ สูตรทางตรีโกณมิติคือ sin, cos, tan
  • รู้ค่าสัมประสิทธิของ sin 30,45, 60 และสัมประสิทธิของ cos 30,45,60
  • คำนวณเป็น จะคำนวณเป็นตัวอย่างต่อเนื่องจากลำดับนี้    


การใช้วิชาตรีโกณมิติ ต้องรู้ค่ามุม ๒ มุมและด้าน ๓ ด้าน : อธิบายประกอบภาพ
 
  • ในสามเหลี่ยมมุมฉาก มุมฉากจะคงที่ส่วนสองมุมที่เหลือ จะปรับเปลี่ยนได้-แต่-มุมภายในของสามเหลี่ยมมุมฉากต้องรวมกันแล้วได้ = ๑๘๐ องศา
  • มุมที่กำหนดให้ในวิชาตรีโกณมิติ จะกำหนดเป็นมุมใดก็ได้ ยกเว้นมุมฉาก, จากรูปหากมุมที่กำหนดให้เป็นมุมเซต้า (zeta) จะรู้จักชื่อมุม ๒ มุมคือมุมฉากและมุมเซต้า และรู้จักชื่อด้าน ๓ ด้านคือ
 

ด้าน BC คือด้านตรงกันข้ามมุมฉาก

ด้าน AB คือด้านประชิดมุมที่กำหนดให้ 

ด้าน AC คือด้านตรงกันข้ามมุมที่กำหนดให้

 

 

 


  • ค่าสัมประสิทธิทางตรีโกณมิติ (load factor) ที่นำมาใช้ cos 30=sin 60 = 0.866, cos 45=sin45 = 0.7071, cos 60=sin 30 = 0.500 และ cos 0=sin90 = 1
  • องค์ความรู้อื่นที่ต้องใช้ร่วมเพื่อคือจุดศูนย์ถ่วง (center gravity), จุดศูนย์ถ่วงคือจุดรวมน้ำหนักที่ทำให้วัตถุนั้นอยู่ในสภาพสมดุล ในงานยกและย้ายของด้วยเครน จุดศูนย์ถ่วงของวัตถุจะอยู่ตามแนวดิ่งใต้ตะขอยกเสมอ


หมายเหตุ : ในการคำนวณโหลด สามารถใช้ศาสตร์วิชาได้หลายแขนง เอกสารฉบับนี้ นำหลักการทางตรีโกณมิติมาคำนวณ ทั้งนี้ด้วยเห็นว่าเป็นศาสตร์ที่ใช้ความเข้าใจและความจำแบบสมดุล อีกประการคือเข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องใช้วุฒิการศึกษาสูง ใช้เพียงพื้นฐานความรู้แค่ระดับศึกษามัธยมต้น ก็เข้าใจได้โดยสะดวก

 

 

โจทย์และตัวอย่างการคำนวณ
 
ใช้สลิง ๒ เส้นยึดเกาะโหลดชิ้นงานรูปทรงสมมาตร น้ำหนัก ๔๐๐๐ กิโลกรัม มีมุมสลิงใต้ตะขอยกระหว่างสลิงขาซ้ายกับขาขวา ๖๐ องศา จงคำนวณหาค่า SWL ของสลิงหนึ่งเส้น
วิธีคิด : โจทย์ให้หาว่าสลิงแต่ละเส้นต้องมี SWL เท่าไร, จุดศูนย์ถ่วงของชิ้นงานที่รูปร่างสมมาตร โหลดตามแนวดิ่งใต้ตะขอยกจะเท่ากับ ๔๐๐๐ กิโลกรัม สลิง ๒ เส้น จะรับโหลดตามแนวดิ่ง=๒๐๐๐+๒๐๐๐ กิโลกรัม (สลิงแต่ละเส้นรับโหลด =๒๐๐๐ กิโลกรัม)  

 

หมายความว่าสลิงแต่ละเส้นต้องมีขนาด SWL = 2.4 ตันหรือสลิงโตกว่าก็ได้
 กรณีจะใช้มุมล่างคำนวณก็จะได้ดังนี้, มุมล่างกาง = 180-90-30, จะได้ว่ามุมล่างกาง 60 องศา คำนวณโดยใช้สมการ Sin ซึ่งก็จะได้ผลลัพธ์เท่าเดิม


งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)  Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังตอนที่ ๑ ประเภทอุปกรณ์ช่วยยกและความเข้าใจทั่วไป : คลิ๊กตรงนี้ 
ไปยังตอนที่ ๒ สลิงเหล็ก wire rope : คลิ๊กตรงนี้ 

ไปยังตอนที่ ๓ สลิงเส้นใยสังเคราะห์ sythetic sling : คลิ๊กตรงนี้

ไปยังตอนที่ ๔ ชุดโซ่ยก chain sling : คลิ๊กตรงนี้

ไปยังตอนที่ ๖ แช็คเคิล อายโบลท์และเพลทแคลมป์ :  คลิ๊กตรงนี้

ไปยังตอนที่ ๗ รอกโซ่ chain block : คลิ๊กตรงนี้ 
 
  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 5 คน
 สถิติเมื่อวาน 139 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2229 คน
45571 คน
927623 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong