Sangtakieng.com
safe working in confined spaces
ความปลอดภัยในงานปฏิบัติการที่อับอากาศ
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง
face book : รณรงค์ แสงตะเกียง

สารบัญที่จะนำเสนอ
 
 ความเข้าใจเบื้องแรก Introduction : นำเสนอท่านในหน้านี้ ด้านล่าง
 คุณสมบัติของผู้เกี่ยวข้องกับงานปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
 วิธีการ หลักเกณฑ์บ่งชี้ที่อับอากาศในสถานประกอบการ : คลิ๊กตรงนี้
 บทบาท หน้าทีและความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องฯ : คลิ๊กตรงนี้
 การขออนุญาตเข้าทำงานและการขอยกเลิกปฏิบัติงาน : คลิ๊กตรงนี้
 การประเมินสภาพงานและมาตรการควบคุมอันตราย : คลิ๊กตรงนี้
 การตรวจวัดก๊าซและเทคนิคการระบายอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
 อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและ SCBA : คลิ๊กตรงนี้
 แผนฉุกเฉิน แผนช่วยเหลือช่วยชีวิต : คลิ๊กตรงนี้
 การสื่อสาร เครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสาร : รอการลงข้อมูล
 การจัดการที่อับอากาศ : รอการลงข้อมูล
 การฝึกอบรมและโครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรม : รอการลงข้อมูล

แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับงานปฏิบัติการที่อับอากาศ
 
 ใบขออนุญาตเข้าทำงาน-PTW Form or ATWP Form : คลิ๊กตรงนี้
 แบบฟอร์มคุ่มือคำแนะนำ-Work Instruction Form : คลิ๊กตรงนี้
 ใบรายการตัดแยกระบบ-Equipment Lockout List : คลิ๊กตรงนี้
 ใบขออนุญาตเข้าทำงานที่อับอากาศ-Confined Space Permit : คลิ๊กตรงนี้
 ใบบันทึกปฏิบัติการที่อับอากาศ-Confined Space Entry Log : คลิ๊กตรงนี้

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
 
กฏกระทรวง-กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อับอากาศ พศ.๒๕๔๗ : คลิ๊กตรงนี้
ประกาศกรมสวัสดิการฯ-เรื่องกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ประกาศกรมสวัสดิการฯ-เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานที่อับอากาศ (ฉบับที ๑) : คลิ๊กตรงนี้
ประกาศกรมสวัสดิการฯ-เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานที่อับอากาศ (ฉบับที ๒) : คลิ๊กตรงนี้

       
       

ความเข้าใจเบื้องแรก Introduction
 
0.1 กรอบการทำงาน
 
กรอบการทำงานเพื่อนำเสนอ ข้อมูลในเว็ปไซด์นี้ เริ่มจากการศึกษาทบทวนกฏหมายที่เกี่ยวข้อง, มาตรฐาน AS/NZS 2865 Safe Working in a Confined Space และทำสำรวจพื้นที่-ที่อับอากาศในหลายหน่วยงาน, การจัดวางระบบปฏิบัติการที่อับอากาศที่ปรากฏในคอลัมน์ "ความปลอดภัยในงานปฏิบัติการที่อับอากาศ" ของแสงตะเกียง.ดอทคอมจะยึดถือแนวปฏิบัติและอ้างอิงเอกสารดังต่อไปนี้
  • กฏกระทรวง-กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พศ.2547
  • qประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน-เรื่องกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในการทำงานในที่อับอากาศ
  • q
  • ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน-เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
  • q
  • มาตรฐานออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เกี่ยวกับปฏิบัติการที่อับอากาศ-AS/NZS 2865 : Safe Working in a Confined Space
  • q
  • มาตรฐานออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เกี่ยวกับการประเมินสภาพงาน-AS/NZS 4360 : Risk Management

0.2 คำจำกัดความขั้นพื้นฐานที่ควรทราบ
 
  • Confined Space-ที่อับอากาศ, ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัด การระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในถูกสุขลักษณะและปลอดภัยเช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถัง ถังน้ำมัน ถังหมัก ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นใด ที่มีลักษณะคล้ายกัน
  • No Entry Space-ที่อับอากาศ ซึ่งยังไม่ถูกควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับงานปฏิบัติการ ไม่อนุญาตให้คนเข้าไป
  • Plant Relate Hazards-อันตรายอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานปฏิบัติการโรงงาน มี 4 กลุ่มคืออันตรายทางด้านกายภาพ อันตรายทางด้านเคมี อันตรายทางด้านไบโอโลจิคอล และอันตรายทางด้านเออโกโนมิคส์
  • Physical Hazards-อันตรายทางด้านกายภาพ เช่นไฟฟ้าดูด สั่นสะเทือน บาดตัดหนีบ ทิ่มแทง ฝุ่นควัน ร้อนหนาว กระแทกชน ตกใส่ทุบตี รังสี มืด แสงสว่าง เป็นต้น
  • Chemical Hazards-อันตรายจากสารเคมีซึ่งอาจจะอยู่ในสถานะหนึ่งสถานะใดเช่น ของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซ
  • Biological Hazards-อันตรายจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งหมายถึงเชื้อโรคหรือแบคทีเรีย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดโรคจากการทำงาน
  • Ergonomic Hazards-อันตรายจากการยกของผิดท่าทางหรือยกของหนักเกินกำลัง และส่งผลกระทบกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง

  • Contaminant Atmosphere-บรรยากาศอันตราย สภาพอากาศที่อาจได้รับอันตรายตามเงื่อนไขใดก็ได้ ดังต่อไปนี้
 
    1.  qอ๊อกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่าร้อยละ 23.5 โดยปริมาตร 
    2. qมีก๊าซ ไอ ละอองหรือฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้เกินร้อยละ 5 ของค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ทำให้เกิดการติดไฟหรือระเบิดได้
    3. qค่าความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายหรือก๊าซพิษ เกินมาตรฐาน ตามข้อมูลจำเพาะซึ่งระบุในเอกสาร SDS-Safety Data Sheet (ตำราบางเล่มเรียก MSDS-Material Safety Data Sheet)
    4. qสภาวะบรรยากาศอื่นซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย เช่นบรรยากาศที่มีความดันหรืออุณหภูมิสูง

  • Likelihood-โอกาสที่อาจเกิด มองถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดอุบัติเหตุจากกระบวนการทำงาน
  • Consequence-ผลกระทบที่อาจตามมา กรณีเกิดอุบัติเหตุ
  • Risk Assessment-การประเมินสภาพงาน หมายถึงการบ่งชี้ระดับความรุนแรงของอุบัติการณ์ โดยพิจารณาจากโอกาสที่จะเกิดฯ และผลกระทบที่อาจตามมา
  • Hazards Control Measure-การควบคุมอันตรายโดยวิธีการบริหารจัดการหรือวิธีการทางวิศวกรรม (Administrative Control or Engineering a Solution) 
  • Administrative Control-การควบคุมอันตรายโดยวิธีบริหารจัดการ หมายถึงการเขียนเป็นข้อกำหนดไว้ในเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน
  • Engineering a Solution-การควบคุมอันตรายโดยวิธีทางวิศวกรรม โดยการติดตั้งเพื่อปิดกั้นอันตรายไม่ให้ส่งผ่านถึงตัวคน หรือรื้อถอนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตรายจากอุปกรณ์นั้น ตัวอย่างเช่น 
qล้อมพื้นที่ด้วยแถบกั้น ติดตั้งรั้วแข็ง ไฟวับวาบ ตาข่ายป้องกันของตก ผ้ากันไฟ ปิดป้ายข้อความเพื่อรณรงค์หรือเตือนหรือป้ายห้าม ขีดสีตีเส้นระบุการควบคุม เป็นต้น
qพื้นที่ทำงานคับแคบ ถอดท่อออกเป็นการชั่วคราว ทำงานได้สะดวกสบายขึ้น ปลอดภัยจากเออร์โกโนมิคส์หรือจากการขูดขีด ฯลฯ

  • PPM (Part per million)-หนึ่งส่วนในจำนวนทั้งหมดหนึ่งล้านส่วน, 30 PPM=สามสิบส่วนในจำนวนทั้งหมดหนึ่งล้านส่วน 
  • LEL or LFL (Lower Explosive Limit or Lower Flammability Limit)-ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ทำให้ก๊าซติดไฟหรือระเบิดได้
  • UEL (Upper Explosive Limit)-ค่าความเข้มข้นสูงสุดที่ทำให้ก๊าซติดไฟหรือระเบิดได้

ตัวอย่างก๊าซไฮโดรเจน (Hydrogen)

            

  • Density relative to air-ความหนาแน่นของก๊าซเมื่อเทียบกับอากาศ (อากาศในภาวะปกติที่ไม่มีสภาพปนเปื้อน มีค่าความหนาแน่น=1) 
  • SCBA (Self Contained Breathing Apparatus)-เครื่องช่วยหายใจแบบถังอากาศอัด

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู คุณสมบัติของผู้เกี่ยวข้องกับงานปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนูวิธีการ หลักเกณฑ์บ่งชี้ที่อับอากาศในสถานประกอบการ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บทบาท หน้าทีและความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องฯ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การขออนุญาตเข้าทำงานและการขอยกเลิกปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การประเมินสภาพงานและมาตรการควบคุมอันตราย : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การตรวจวัดก๊าซและเทคนิคการระบายอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและ SCBA : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู แผนฉุกเฉิน แผนช่วยเหลือช่วยชีวิต : คลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 100 คน
 สถิติเมื่อวาน 267 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2432 คน
19422 คน
901474 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong