Sangtakieng.com
Permit to Work-End of Job
การขออนุญาตเข้าทำงานและการขอยกเลิกปฏิบัติการที่อับอากาศ
นำเสนอและงานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง

บททั่วไป
คำแนะนำสำหรับการอ่านเมนูนี้-ท่านควรศึกษาและนำเอาแบบฟอร์มที่กล่าวถึงใน Flow Chart มาดูประกอบ, ในช่วงเวลาที่ทีมงานกำลังลงข้อมูลและแบบฟอร์มที่กล่าวถึงนี้ ท่านจะประสบความยากลำบากที่จะเข้าใจพอควร ทางแสงตะเกียงจะดำเนินการลงแบบฟอร์มโดยเร็วที่สุด

ขั้นตอนการขออนุญาตเข้าทำงาน

ขั้นตอนแรก-นายจ้างหรือตัวแทนนายจ้างร่วมกับหัวหน้ากลุ่มงาน (Job Supervisor) ร่วมกันสำรวจที่อับอากาศซึ่งจะเข้าไปทำงาน ซึ่งขั้นต่ำสังเกตและต้องเก็บข้อมูลดังนี้

  • ลักษณะทางกายภาพ เป็นแมนโฮลเข้าออกด้านข้างหรือเข้าออกตามแนวดิ่ง, กว้างแคบ, ลึกตื้น ฯลฯ-ลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน กระบวนการวางแผนปฏิบัติงานก็จะแตกต่างกันไปด้วย
  • มีกิจกรรมอื่นการทำงานในพื้นที่โดยรอบ ซ้ายขวา หน้าหลัง บนล่าง ใกล้ทางสัญจรหรือไม่อย่างไร ฯลฯ, ทั้งนี้เพื่อนำมากำหนดเป็นเงื่อนไข การควบคุมอันตรายเนื่องจากปฏิบัติงานในพื้นที่เดียวกัน (Interaction Control)
  • อุปกรณ์โรงงานซึ่งถูกติดตั้งถาวรอยู่กับที่อับอากาศนั้น และต้องใช้ในงานปฏิบัติการคราวนี้ด้วย เช่นตรวจสอบตรวจสภาพบันไดลิง เป็นต้น
  • อื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของที่อับอากาศนั้น

ขั้นตอนที่สอง-หัวหน้ากลุ่มงานจัดเตรียมเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงานอากาศ ซึ่งได้กล่าวถึงและแสดงไว้แล้วใน Flow Chart ด้านบน
ขั้นตอนที่สาม-หัวหน้ากลุ่มงานยื่นเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงานอากาศ เพื่อขออนุญาตเข้าทำงาน และเตรียมความพร้อมในสามด้าน
  • qตรวจสอบและยืนยันคุณสมบัติของผู้เกี่ยวข้องกับทีมปฏิบัติการ : ผู้ช่วยเหลือ, ผู้ปฏิบัติงานและทีมกู้ภัย ช่วยเหลือช่วยชีวิต 
  • qชุดเอกสารขออนุญาตเข้าทำงานที่อับอากาศ
  • qมาตรการปิดกั้นควบคุมพื้นที่, อุปกรณ์ & เครื่องมือที่ใช้ในงานปฏิบัติการและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์กู้ภัย
ขั้นตอนที่สี่-นายจ้างหรือตัวแทนนายจ้าง พิจารณาเอกสารฯ ก่อนลงนามอนุญาต, ทั้งนี้ให้พิจารณาในสองกลุ่มคือขั้นแรกให้พิจารณาว่าเอกสารที่ยื่นเพื่อขออนุญาตเข้าทำงานครบถ้วนหรือไม่ หากครบให้พิจารณาในขั้นตอนที่สองคือเอกสารได้คุณภาพหรือไม่, เอกสารได้คุณภาพต้องมีเงื่อนไขอย่างไร ให้ดูรายละเอียดจากเมนู-เอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน

หากหัวหน้ากลุ่มงานเตรียมการครบทั้งสามด้าน, เอกสารครบและได้คุณภาพ ให้นายจ้างหรือตัวแทนนายจ้างจัดทำใบอนุญาตปฏิบัติการที่อับอากาศ (Confined Space Work Permit) มอบให้หัวหน้ากลุ่มงาน และลงนามอนุญาตในใบขออนุญาตเข้าทำงาน (Permit to Work Form-PTW)

ขั้นตอนที่ห้า-หัวหน้ากลุ่มงานและช่างเทคนิคผู้มีหน้าทีในการตัดแยกระบบ (Authorize Isolator) ร่วมกันตัดแยกและล็อคเอาท์อุปกรณ์ ทั้งนี้ให้อ้างอิงจุดตัดแยกจากใบรายการตัดแยกระบบ (Equipment Lockout List)
หลังจากตัดแยกเสร็จ ต้องทดสอบว่าพลังงานถูกตัดแยกแล้วระบบตายจริง และต้องจำไว้เสมอว่าหากระบบไม่ตายคนทำงานอาจตาย หรือไม่ความหายนะอาจมาเยือนหน่วยงานของคุณ ฉะนั้นการตัดแยกและล็อคเอาท์ฯ ต้องคู่กับการทดสอบเสมอ

              

ขั้นตอนทีหก-ประชุมกลุ่มก่อนเปิดงาน ซึ่งต้องมีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย : ผู้คอยช่วยเหลือ ผู้ปฏิบัติงานทุกคน หัวหน้าทีมฉุกเฉิน ช่วยเหลือช่วยชีวิต
ขั้นตอนที่เจ็ด-เปิดงานและดำเนินการตามขั้นตอนของคู่มือคำแนะนำ (Confined Space Work Instruction)

2.การขออนุญาตเลิกงาน-ให้ขอยกเลิกงานเนื่องจาก 2 เงื่อนไขหลัก
  1. ขอยกเลิกเนื่องจากงานแล้วเสร็จ 
  2. ขอยกเลิกงานเป็นการชั่วคราว กรณีเกิดความผิดปกติในงานปฏิบัติการ-ให้ยกเลิกการขออนุญาตเป็นการชั่วคราวเมื่อมีความผิดปกติหรือไม่พร้อมจากกรณีดังต่อไปนี้ :
  • qมีข้อแนะนำจากทีมตรวจติดตามความปลอดภัย-ให้หัวหน้ากลุ่มงาน (Job Supervisor) ตรวจสอบขั้นต้น หากพบว่ามีข้อบกพร่อง จากเอกสารสนับสนุนฯ, คุณสมบัติผู้เกี่ยวข้อง หรืออุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องมือตรวจวัดก๊าซ (Gas Detector) ความผิดปกติลักษณะดังกล่าวฯ ให้สั่งหยุดงานเป็นการชั่วคราว
  • qหัวหน้ากลุ่มงาน ผู้ช่วยเหลือหรือทีมกู้ภัยหรือทีมกู้ภัยไม่สามารถปฏิบัติงานต่อได้
  • qเกิดเหตุผิดปกติในงานและยังสัมภาษณ์ สืบสวนสอบสวนบ่งชี้สาเหตุไม่แล้วเสร็จ
  • qขอยกเลิกโดยนายจ้างหรือตัวแทนนายจ้าง

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนูหลัก ความปลอดภัยในงานปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู คุณสมบัติของผู้เกี่ยวข้องกับงานปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนูวิธีการ หลักเกณฑ์บ่งชี้ที่อับอากาศในสถานประกอบการ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บทบาท หน้าทีและความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องฯ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การประเมินสภาพงานและมาตรการควบคุมอันตราย : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การตรวจวัดก๊าซและเทคนิคการระบายอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและ SCBA : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู แผนฉุกเฉิน แผนช่วยเหลือช่วยชีวิต : คลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 35 คน
 สถิติเมื่อวาน 111 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2196 คน
23527 คน
905579 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong