Sangtakieng.com
เนเฟอติติ ราชินีแห่งไอยคุปต์-ราชินีผู้สาบสูญ
ตอนที่สอง : มหานครกลางทะเลทราย มหานครแห่งเนเฟอติติ
รวบรวม เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง

ไกลออกไป ๒๐๐ ไมล์จากธีบ เป็นเมืองใหม่ที่เรียกว่าอามานา พระองค์ตัดสินใจสร้างเมืองที่นี่ ทุกๆ วันหนึ่งของปี ดวงอาทิตย์ดูเหมือนจะกำเนิดขึ้นใหม่ระหว่างภูเขาสองลูก นับเป็นจุดที่สมบูรณ์แบบ ของการบูชาพระอาทิตย์

 

ซ้าย-รูปแกะสลักบนแผ่นหินของเนเฟอติติ กับอาเคนาเตนและธิดาสามพระองค์ จากเมืองอามาร์นา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ กรุงเบอร์ลิน

อเคนาเตนและเนเฟอติติ เริ่มต้นวางผังเมืองแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์อียิปต์ เมืองที่ออกแบบมาเพื่อบูชาดวงอาทิตย์ กระทั่งถนนและการจัดวางวิหารต่างๆ คนนับพัน ต่างทำตามพระราชาและพระราชินี ท่ามกลางทะเลทราย พวกเขาไม่มีทางเลือก เมื่อสร้างเมือง การงานก็ตามมา ช่างหินและช่างฝีมือเข้ามาสร้างเมืองใหม่ หลายคนเปลี่ยนใจมาบูชาเทพเจ้าองค์ใหม่และนักแสวงโอกาสก็หลั่งไหล่เข้ามา

อามานาสร้างขึ้นไม่กี่ปีก็ใกล้แล้วเสร็จ สร้างด้วยความเร็วอย่างน่าอัศจรรย์ อามานาเป็นที่พักอาศัยที่วางแผนไว้อย่างดี ทั้งสองพระองค์เสด็จจากธีบมาสู่บ้านใหม่อย่างยิ่งใหญ่ และไม่นาน เมืองนี้มีประชากรถึง ๕๐,๐๐๐ คน ทั้งสองพระองค์มุ่งมั่นที่จะสร้างอียิปต์ใหม่
อามานา ถูกออกแบบมาให้ลึกลับกว่าคำว่าเมือง มันถูกโอบล้อมด้วยหน้าผาสามด้านและแม่น้ำไนล์ขนาบเป็นด้านที่สี่ เปรียบเสมือนอามานามีป้อมปราการที่แข็งแกร่ง ทั้งสองพระองค์ได้ปฏิวัติโดย
เป้าหมายแรกคือนักบวชแห่งอามุน
ศิลปะโบราณบ่งบอกถึงความสุขของชาวบ้าน รูปแกะสลัก มีรูปรถม้าศึก ซ้ายขวา คำจารึก อ่านว่า พระชายาหลวงผู้ยิ่งใหญ่ รูปทางซ้ายเป็นเนเฟอติติ พระนางขับรถม้าศึกด้วยพระองค์เอง พระราชินีเคียงข้างพระราชาอยู่ทุกเมื่อ ราชินีแข่งขันกับกษัตริย์ เป็นอีกหนึ่งที่มีข้อพิสูจน์ว่าเนเฟอติติ กุมอำนาจเบื้องหลังราชบัลลังค์ ที่ต่างจากราชินีส่วนใหญ่ในอียิปต์โบราณ
พระนางมีบทบาทสำคัญในราชสำนัก และพระนางกับพระสวามีก็มักจะแสดงว่า มีศักดิ์และสิทธิ์ที่เท่าเทียมกัน บางภาพของเนเฟอติติก็ไปไกลกว่านั้น คือพระนางปฏิบัติหน้าที่แทนฟาโรห์ซะเอง บางภาพพระนางจัดการศัตรู อำนาจมิมีเพียงกษัตริย์เท่านั้น ที่จะจัดการกับศัตรูได้ และนี่ไม่ใช่อำนาจของราชินีแต่เป็นอำนาจของกษัตริย์
นักโบราณคดีสันนิฐานว่า เนเฟอติติต้องแลกอะไรมากมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจนี้ และเบาะแสก็อยู่ในภาพเหล่านี้นี่เอง มีกองกำลังชายที่กำลังวิ่ง พวกเขาถืออาวุธหลากหลายชนิด ตั้งแต่ขวาน หอก โล่ ธนู ฯลฯ พระองค์มีทหารจำนวนมากเพื่อรักษาความปลอดภัย

จุดเปลี่ยนแปลงอียิปต์-เพื่อหาเงินมาสร้างอามานาจัดการศัตรูเก่า เนเฟอติติและอเคนาเตน ทรงทำลายวิหารแห่งคานัค นักบวชหลายพันคนถูกขับออกจากตำแหน่ง เกิดความระส่ำระส่ายไปทั่ว บัดนี้หัวใจของประชาชนคือวิหารถูกทำลาย คนจำนวนมากตกงาน ไม่มีใครกล้าวิจารณ์กษัตริย์ จากนครที่รุ่งเรือง กลายเป็นเมืองที่น่ากลัว เทพเจ้าเดิมถูกละทิ้งไปและเกิดลัทธิใหม่โดยเทพเจ้าอาเตม
อเคนาเตนและเนเฟอติติทำให้เกิด วิกฤตศรัทธาในอียิปต์ อเคนาเตนได้ทำลายความเชื่อของผู้คน จนทำให้บางคนไม่ยอมก้มหัวในราชวงศ์นี้ เพียงแต่หมอบคลานอย่างไม่เต็มใจสักเท่าใดนัก
เหตุการณ์ ทำให้อียิปต์ก้าวเข้าสู่ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และความไม่สงบทางการเมืองเกิดขึ้น เมื่อทหารต้องคอยรักษาความสงบในบ้านเมือง ทำให้ชายแดนไร้การป้องกัน เหตุการณ์เลวร้ายลงเรื่อยๆ
บ้านเมืองก้าวสู่ความหายนะ แต่อาเคนาเตนยังคงก้าวสู่การปฏิรูปอียิปต์ ไม่ว่าจะแลกกับอะไรก็ตาม
อย่างไรก็ตาม เนเฟอติติต้องแก้วิกฤตต่างๆ รวมถึงเรื่องส่วนพระองค์ด้วย นั่นคือศัตรูที่คุกคามตำแหน่งของพระองค์ เนเฟอติติมีพระธิดา ๖ พระองค์ แต่พระสนมนามคียา กลับมีพระสูติการที่พระองค์ต้องการนั้นคือราชโอรส ว่าที่กษัตริย์ตุตันคามุน แต่คียาที่เป็นคนโปรดขององค์ฟาโรห์นั้นสั้นนัก และในปีที่ ๑๑ ของการครองราชย์ของอเคนาเตน นางก็หายไปจากบันทึก ไม่มีใครรู้ว่าทำไม บางคนคิดว่านางเป็นเหยื่อของเนเฟอติติที่ริษยา

ความสามารถของพระนางเนเฟอติติจากสถานการณ์รอบตัว จะได้รับการยืนยันหลังจากที่คียาหายตัวไป และในปีที่ ๑๒ การครองราชย์ของอเคนาเตน ขณะที่อียิปต์กำลังจะล่มสลาย เหตุการณ์พิเศษก็เกิดขึ้นในอามานา มีงานฉลองครั้งยิ่งใหญ่ที่เรียกว่าเดอบา ซึ่งอาจจัดขึ้นโดยพระนางเนเฟอติติเอง เพื่อรับรองกับผู้คนว่าเหตุการณ์ยังปกติ ภาพที่ปรากฏเป็นเนเฟอติติเคียงข้างพระสวามี ไม่ใช่ราชินี แต่เป็นผู้ปกครองร่วมที่เสมอภาคกัน จนทำให้พระนางกลายเป็นหญิงที่ทรงอำนาจที่สุดในโลกในครั้งนั้น เรื่องไม่ง่ายขนาดนั้น นาทีแห่งชัยชนะมาพร้อมกับหายนะ ท่ามกลางเครื่องราชย์บรรณาการกษัตริย์ มีของขวัญมรณะแฝงมาด้วย นั่นก็คือโรคระบาด แต่โรคอะไรนั้นในบันทึกไม่ได้กล่าวถึง แต่มันระบาดไปทั่วเมืองจนถึงพระราชวัง จนคร่าชีวิตพระธิดาองค์โปรดของเนเฟอติติไปด้วย

และในปีที่ ๑๔ เนเฟอติติก็หายไปจากบันทึก นักอียิปต์วิทยาบางคนเชื่อว่า พระนางสิ้นพระชนม์เพราะโรคระบาด และอีกหลายคนคิดว่าพระนางพ่ายแพ้ให้กับศัตรูเพศชาย ที่มีชื่อว่าสเมนทาเรย์ ซึ่งมีชื่อในบันทึกมาแทนพระนาง ตัวละครลึกลับผู้นี้กลายมาเป็นผู้ครองบัลลังค์ร่วมกับอเคนาเตนและสืบทอดตำแหน่งฟาโรห์องค์ถัดมา
แต่นักอียิปต์วิทยาหลายคนก็เชื่อว่าสเมนทาเรย์ คืออีกพระนามหนึ่งของเนเฟอร์ติติ ราชินีผู้ยิ่งใหญ่จะมีชีวิตต่อมาและปกครองอียิปต์ในฐานะ สเมนทาเรย์

กลับไปอ่านตอนที่หนึ่ง-กำเนิดเนเฟอติติ การล้มสลายของมหานครธีบฯ : คลิ๊กตรงนี้
อ่านต่อตอนสุดท้าย-เนเฟอติติ ราชินีผู้สาบสูญ : คลิ๊กตรงนี้

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนูหลัก เสาะหามาเล่า ค้นรื้อมาบอก : คลิ๊กตรงนี้

 

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 16 คน
 สถิติเมื่อวาน 130 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3877 คน
20867 คน
902919 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong