Sangtakieng.com
ทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานแห่งความรัก
รวบรวม เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง

ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อนที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก ถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์อินเดีย ผู้มีรักมั่นคงต่อพระมเหสีของพระองค์ เจ้าชายขุร์รัมชึ่งต่อมาคือจักรพรรดิชาห์ ชหาน พระราชสมภพในปี พศ. ๒๑๓๕ (คศ. ๑๕๙๒) เป็นราชโอรสของจักรพรรดิ ชาห์ ชหานชีร์ จักรพรรดิองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดีย ตำนานกล่าวว่าเจ้าชายขุร์รัม ได้พบกับอรชุมันท์ พานุ เพคุม ธิดาของรัฐมนตรี เมื่อคร้งพระองค์มีพระชนมายุ ๑๔ พรรษา พระองค์ทรงหลงใหลและหลงรักนาง จึงซื้อเพชรด้วยเงิน ๑๐,๐๐๐ รูปีและบอกแก่พระบิดาว่าพระองค์มีความประสงค์ที่จะแต่งงานกับบุตรสาวของรัฐมนตรี พิธีอภิเษกถูกจัดขึ้น ในปี พศ. ๒๑๕๕ (คศ. ๑๖๑๒) ต่อแต่นั้น ๕ ปี จากนั้นมาทั้งสองก็มิเคยห่างกันอีกเลย

               

ซ้าย : ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อนอนุสรณ์สถานแห่งความรัก  ขวา : ภาพพระนางมุมตัซ มาฮาล (ขอขอบคุณ : ภาพจาก wowboom.blogspot.com)

หลังจากพระเจ้าชาห์ ชหาน ขึ้นครองราชย์ในปี พศ. ๒๑๗๑ พระองค์ทรงมอบความไว้วางพระทัยแก่อรชุมันท์ พานุ เพคุม และเรียกนางว่า ตุมตัง มาฮาล "อัญมณีแห่งราชวัง" พระมเหสีทรงติดตามพระองค์ในทุกที่ แม้แต่ในสนามรบ แนะนำพระองค์ในเรื่องราชการของประเทศและพระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระมเหสียิ่งนัก ครั้นปี พศ. ๒๑๗๔ (คศ. ๑๖๓๑) พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ ๑๔ การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้พระเจ้าชาห์ ชหานโศกเศร้านานถึงสองทศวรรษ ราชสมบัติสูญเสียไปเพื่อการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์เป็นจำนวนมาก
ปี พศ. ๒๒๐๐ (คศ. ๑๖๕๗) พระเจ้าชาห์ ชหานทรงพระประชวร ครั้นปี พศ. ๒๒๐๑ (คศ. ๑๖๕๘) พระโอรส โอรังเซบ จับพระเจ้าชาห์ ชหาน คุมขังและขึ้นครองราชย์บัลลังก์แทน พระองค์ถูกกักขังอยู่  ปี กระทั่งสวรรคตในปี พศ. ๒๒๐๙ (คศ. ๑๖๖๖) ตามตำนานกล่าวว่าวันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมองกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระเจ้าชาห์ ชหานถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืม มีบางคนกล่าวว่าพระเจ้าชาห์ ชหาน มิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับประมเหสี แต่พระองค์มีแผนการจะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำเพื่อเป็นสุสานของพระองค์ แต่ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าพระองค์ประสงค์ที่จะถูกฝังเคียงข้างพระนางมุมตัซ มาฮาล

               
ภาพมุมแคบภายในทัชมาฮาล มีโลงพระศพของพระเจ้าชาห์ ชหาและพระนางมุมตัซ มาฮาลวางอยู่คู่กัน ส่วนพระศพจริงถูกฝังชั้นห้องใต้ดินเป็นทางเชื่อมต่อลึกลงไปใต้โลงพระศพนี้

ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่น้ำยมุนาในเมืองอาครา เป็นสถานที่ซึ่งถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ หลุมศพของพระนางมุมตัซ มาฮาล ซึ่งถูกสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลงประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและเครื่องประดับจากมิตรประเทศ ได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วยสัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ ๑๐๐ เมตร สูง ๖๐ เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม ๒๐,๐๐๐ คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง ๒๒ ปี ทัชมาฮาลมีเนื้อที่ประมาณ ๔๒ เอเคอร์ เป็นที่ตั้งของมัสยิด มีหออาซาน (หอสูงสำหรับร้องแจ้งเวลาทำนมาซ) และมีสิ่งก่อสร้างอื่น นายช่างที่ออกแบบชื่อ อุสตาดไอซา ถูกประหารชีวิตเพื่อมิให้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมใด ที่สวยกว่าได้ ส่วนหัวของทัชมาฮาลมีลักษณะโดมที่เรียกว่าโอเนียมโดม

ทัชมาฮาล : ताजमहल ตาช มฮัล รากศัพท์เดิมมาจากภาษาอาหรับ ตาจญ์แปลว่ามงกุฎ และมะฮัลแปลว่าสถาน

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนูหลัก เสาะหามาเล่าค้นรื้อมาบอก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู เนเฟอติติ ราชินีแห่งไอยคุปต์-ราชินีผู้สาบสูญ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บันทึกวิถีคนกล้า บันทึกสืบ นาคะเสถียร : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู รู้จักดาบวิชัย รู้จักปรางค์กู่ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ชาวบ้านบางระจัน ตำนานนักรบกล้าแห่งสยามประเทศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ตำนานรักนางนาก บางพระโขนง : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บ้านถวาย หมู่บ้านหัตถกรรมแห่งล้านนา : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู สถาพร ศรีสัจจัง นักเขียนนักต่อสู้จากแดนใต้ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู เอลวิส เพรสลีย์ ราชาแห่งร็อคแอนด์โรล : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ปฏิบัติการ US Navy Seal นาทีสังหารผู้นำอัลเคด้า : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ท่องไชยาทางโลก ท่องสวนโมกข์ทางธรรม : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู พันตำรวจเอกสมเพียร เอกสมญา วีระบุรุษบันนังสตา : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ชุมชนบ้านแพน ตลาดมีชีวิตบนวิถีคนลุ่มน้ำ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ราชินีแบดมินตันลูกชาวบ้าน รัชนก อินทนนท์ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู วัดพระบรมธาตุ ประวัติศาสตร์น่ารู้แห่งเมืองชัยนาท : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู นครธม ศิลปเขมรแบบบายน สิ่งมหัศจรรย์ของโลก : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้

 

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 1 คน
 สถิติเมื่อวาน 145 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
1056 คน
53202 คน
935254 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong