Sangtakieng.com
angkor thom
นครธมศิลปเขมรแบบ-บายน หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
รวบรวม เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง ronnarong sangtakieng
ขอขอบคุณ : ข้อมูลบางส่วนจากมหาวิทยาลัยมหิดล (wemahidol.ac.th)

นครธม angkor thom

ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ ๑๘
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
ศาสนา : ศาสนาพุทธนิกายมหายาน

นครธมมีความหมายว่าเมืองใหญ่ (ธมแปลว่าใหญ่) เมืองพระนครหลวงมีพระราชวังและปราสาทต่างๆมากมาย และเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรขอมมั่งคั่งและรุ่งโรจน์เป็นที่สุด ไม่ว่าใครก็ตามที่เดินทางมาเยี่ยมชมเมืองพระนครหลวง และนับตั้งแต่ก้าวแรกที่จะต้องเดินทางผ่านช่องประตูเข้ามา้ ต้องตื่นตะลึงกับความโอฬารของหินทรายที่สลักเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ด้วยสายตาที่ทอดลงมายังที่ต่ำ และรอยยิ้มที่เป็นสุขหรือยิ้มแบบบายนที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ทำให้ผู้พบเห็นมิอาจจะละสายตาไปได้ง่าย

ส่วนด้านข้างของกรอบประตูก็จะพบกับประติมากรรมลอยตัวพระอินทร์ทรงช้าง เอราวัณ ๓ เศียร คอยต้อนรับอาคันตุกะจากแดนไกลอีกเช่นกัน สองข้างทางของสะพานที่ทอดข้ามคูเมืองด้านซ้ายเป็นศิลาทรายสลักลอยตัวของ เหล่าเทวดาฉุดตัวนาค ส่วนด้านวาเป็นบรรดายักษ์กำลังฉุดดึงลำตัวพญานาคอยู่เช่นกัน ทั้งภาพสลักเทวดา นาคและยักษ์ นิยมนำมาให้กันมากในศิลปะยุคบายนนี้

            

เมืองพระนครหลวง นับได้ว่าเป็นราชธานีแห่งใหม่ที่ย้ายมาจาก "นครยโศธรปุระ" ที่มีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕ อันเป็นพระราชดำริของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่ประสงค์จะขยายอาณาจักรขอมให้ยิ่งใหญ่ขึ้น เมืองพระนครหลวงมีคูเมืองล้อมรอบกว้างประมาณ ๘๐ เมตร แต่ละด้านมีความยาวถึง ๓ กิโลเมตรและมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้านด้วยกัน มีพื้นที่มากถึง ๙ ตารางกิโลเมตร หรือ ๕,๖๒๕ ไร่ กำแพงแต่ละด้านก่อด้วยศิลาแลงสูง ๗ เมตร

ประตูด้นทิศใต้ของเมืองพระนครหลวงจัดได้ยังมีความสมบูรณ์ของรูปประติมากรรมลอยตัวของเทวดาและยักษ์ยื้อยุดฉุดนาคเพื่อกวนเกษียรสมุทร อันเป็นตอนเริ่มจากนิยานปรัมปราที่พวกพราหมณ์เล่าถึงตอนกำเนิดโลกมนุษย์และจักรวาล

ปราสาทบายน-ปราสาทบายนสร้างในปีพุทธศตวรรษที่ ๑๘ รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เป็นศิลปะแบบบายน ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ปราสาทบายนเป็นปราสาทหลวงประจำรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และเป็นการปฏิวัติรูปแบบของการสร้างปราสาทที่มีภาพลักษณ์ต่างจากการสร้างรูปแบบเดิมๆ โดยสิ้นเชิง เป็นเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งต่างจากกษัตริย์หลายพระองค์ที่ล้วนแล้วแต่นับถือศาสนาฮินดูหรือศาสนา พราหมณ์ที่สืบทอดมากกว่า ๔๑๕ ปี

ปราสาทบายนถูกสร้างโดยการนำหินมาวางซ้อนๆ กันขึ้นเป็นรูปร่าง แม้จะเป็นปราสาทไม่ใหญ่โตเท่านครวัด แต่มีความแปลกและดูลี้ลับทั้งปราสาทมีแต่ใบหน้าคน หากขึ้นไปยืนอยู่ภายในปราสาทนี้ไม่ว่ามุมไหนก็หาได้รอดหลุดพ้นจากสายตาเหล่านี้ได้เลย นักเดินทางรุ่นเก่าที่เดินทางมายังปราสาทบายนรุ่นแรกๆ เช่นนายปิแอร์ โลตี ได้บันทึกไว้ว่า “ข้าพเจ้าเงยหน้าขึ้นไปยังปราสาทที่มีต้นไม้ปกคลุม ซึ่งทำให้ตัวเองรู้สึกเหมือนคนแคระและทันทีทันใด เลือดในตัวข้าพเจ้าก็เกิดแข็งเย็นขึ้นมา เมื่อมองเห็นรอยยิ้มขนาดมหึมาที่กำลังมองลงมาแล้วก็รอยยิ้มอีกด้านหนึ่ง เหนือกำแพงอีกด้านหนึ่งแล้วก็รอยยิ้มที่สารทแล้วก็รอยยิ้มที่ห้า แล้วก็ที่สิบ ปรากฏจากทั่วสารทิศข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนมีตาคอยจ้องมองอยู่ทุกทิศทาง”

ปรางค์ปราสาทบายน-ปรางค์ปราสาทบายนทั้ง ๕๔ ปรางค์ถูกสลักเป็นภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศ เพื่อสอดส่องดูแลความทุกข์สุขของเหล่าพสกนิกรของพระองค์ให้อยู่เย็นเป็นสุข รอยยิ้มที่ระเรื่อนี้เรียกว่า "ยิ้มแบบบายน" เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา ใบหน้าเหล่านั้นหากนับรวมกัน ๕๔ ปรางค์ปราสาทปรางค์ปราสาทละ ๔ หน้า จะมีรวมถึง ๒๑๖ หน้า แต่ปัจจุบันได้สึกกร่อนพังทลายลงไปหลายหน้าแล้ว

รอบๆ ปรางค์ประธานประกอบด้วยระเบียงคต ๒ ชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ชั้นนอกมีขนาดกว้าง ๑๔๐ เมตร ยาว ๑๖๐ เมตร ชั้นในมีขนาดกว้าง ๗๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร หน้าโคปุระทุกด้านมีภาพประติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์ทั้งสองข้างของบันได ปรางค์ประธานมีลักษณะเป็นทรงกรวยมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง ๒๕ เมตร และสูง ๔๓ เมตร เหนือจากระดับพื้น ตัวปราสาทโดยรอบแบ่งออกเป็นสามชั้น ประกอบระเบียงคตด้านนอก ชั้นระเบียงคตด้านใน และบนสุดเป็นชั้นของปรางค์ประธาน และปรางค์บริวารที่ทุกปรางค์จะมีภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผินพระพักตร์มองออกไปทั้งสี่ทิศ

              
            
ภาพแกะสลักสูงต่ำที่ปราสาทบายน นครธม : ล่างซ้าย-ภาพบนผนังด้านทิศใต้กองทัพจามบุกตีอังกอร์ธม       

ระเบียงคตชั้นนอก-ระเบียงคตชั้นนอกแต่เดิมมีหลังคาหินทรายมุงอยู่ แต่ธรรมชาติและป่าที่กลืนปราสาทนานนับร้อยปี รวมทั้งสงครามต่อเนื่องอีกหลายทศวรรษ ทำให้หลังคาส่วนใหญ่พังทลายลงหมด ปัจจุบันหลังคาหินเหล่านี้กองอยู่ในบริเวณปราสาทหลายกอง พบแต่เสาศิลาทรายที่ทั้งสี่ด้านของเสามรภาพสลักนูนต่ำของนางอัปสรากำลังร่ายรำ

ผนังด้านทิศตะวันออก-ผนังด้านทิศตะวันออกตลอดความยาว ๓๕ เมตรและสูง ๓ เมตร ถูกสลักเป็นภาพนูนต่ำ ในภาพเป็นขบวนทหารและแม่ทัพนายกองส่วนหนึ่งของขบวนทัพพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ภาพแบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือภาพด้านบน กลางและด้านล่าง การจัดขบวนทัพใยสมัยนั้นเป็นรูปแบบขบวนทัพที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยกองกำลังสอดแนม ทัพหน้า ทัพหลวง กองสรรพาวุธและกองเสบียง การแต่งกายของเหล่าทหารมีรูปแบบเป็นหมู่เป็นกองเห็นได้ชัด จากลักษณะของหมวก เสื้อ ผ้ายันต์ และผ้านุ่ง ตลอดจนอาวุธที่ใช้ก็แตกต่างกันตามลำดับและยศของทหาร ทัพหน้ามีกองกำลังทหารจากประเทศราช บางเหล่าแต่งกายคล้ายทหารจีน ทัพหลวงมีกระบวนม้าและกระบวนช้าง มีพัดโบก และอาวุธครบ สุดท้ายเป็นกองเสบียงมีโคเทียมเกวียนที่บรรทุกสัมภาระไปกันมากมาย มีคนจูงหมู แบกเต่าไปกับขบวนด้วย บางคนกำลังก่อไฟย่างปลา บางคนกำลังหุงข้าว ภาพสลักชุดนี้เล่าถึงชีวิตของทหารในกองทัพพร้อมกับวิถีชีวิตของชาวบ้านได้ เป็นอย่างดี

ผนังด้านทิศใต้-ผนังด้านทิศใต้เป็นภาพสลักยุทธภูมิทางเรือของทัพขอมและทัพจาม การปะทะกันทางเรือของสองทัพอย่างนองเลือด ทหารทั้งฝ่ายขอมและจามล้มตายลงเป็นอันมาก บางคนก็ถูกจระเข้ในโตนเลสาบคาบไป ณ สมรภูมิแห่งนี้เล่าถึงตอนที่กำลังทัพของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สามารถเอาชนะทัพของพวกจามได้อย่าราบคาบ

ผนังด้านทิศเหนือ-ผนังด้านทิศเหนือมีภาพสลักเล่าเรื่องในรั้งในวังของเหล่าพระราชวงศ์ เช่นตอนเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชน ภาพการประดับราชวังเพื่อต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ภาพการซ่อมแซมปราสาท ภาพการแสดงกายกรรม การละเล่น คนไต่ราว การแสดงมายากล มวยปล้ำและพวกสัตว์ที่มากับคณะละครสัตว์ ฯลฯ เป็นต้น

ผนังระเบียงคตชั้นใน-ผนังระเบียงคตชั้นใน ส่วนมากสลักภาพในพระราชพิธีต่างๆ เช่นตอนประชุมเหล่าเสนนาบดี ภาพบางตอนเล่าถึงกฤษดาภินิหารต่างๆ ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ก่อนขึ้นครองราชย์ ในขณะที่มหาปราสาทนครวัดมีภาพสลักในศาสนาฮินดูตาที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ทรงนับถือ แต่ที่ปราสาทบายนภาพสลักในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของขอมโบราณเมื่อ ๘๒๙ ปีก่อน หากจะเปรียบเทียบภาพสลักระหว่างสองปราสาทนี้แล้วจะพบว่า ที่ปราสาทบายนมีลักษณะเร่งรีบ และมีความงามด้อยกว่าที่นครวัดอยู่บ้าง และยังพบได้ว่ามีบางพื้นที่ซึ่งภาพสลักไม่เสร็จ เช่นบริเวณผนังทิศใต้ฝั่งตะวันตก เป็นเรื่องขบวนทัพของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แต่อย่างไรก็ตาม ปราสาทบายนนับเป็นปราสาทที่มีความแปลกที่สุดทั้งด้านศิลปะและการก่อสร้าง สมควรที่จะเข้าไปเยี่ยมชมไม่แพ้การไปเยี่ยมชมที่ปราสาทนครวัดเช่นกัน

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนูหลัก เสาะหามาเล่า-ค้นรื้อมาบอก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานแห่งความรัก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู เนเฟอติติ ราชินีแห่งไอยคุปต์-ราชินีผู้สาบสูญ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บันทึกวิถีคนกล้า บันทึกสืบ นาคะเสถียร : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู รู้จักดาบวิชัย รู้จักปรางค์กู่ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ชาวบ้านบางระจัน ตำนานนักรบกล้าแห่งสยามประเทศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ตำนานรักนางนาก บางพระโขนง : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บ้านถวาย หมู่บ้านหัตถกรรมแห่งล้านนา : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู สถาพร ศรีสัจจัง นักเขียนนักต่อสู้จากแดนใต้ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู เอลวิส เพรสลีย์ ราชาแห่งร็อคแอนด์โรล : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ปฏิบัติการ us navy seal นาทีสังหารผู้นำอัลเคด้า : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ท่องไชยาทางโลก ท่องสวนโมกข์ทางธรรม : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บ้านแพน ตลาดมีชีวิตบนวิถีคนลุ่มน้ำ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ราชินีแบดมินตันลูกชาวบ้าน รัชนก อินทนนท์ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู  วัดพระบรมธาตุ ประวัติศาตร์น่ารู้แห่งเมืองชัยนาท : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้

 

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 100 คน
 สถิติเมื่อวาน 267 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2432 คน
19422 คน
901474 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong