Sangtakieng.com

๕ ตอนที่ห้า 
working at heights safety engineering
วิศวกรรมความปลอดภัยการทำงานบนที่สูง
ตอนที่ห้า การควบคุมของตกและวิธีปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน

งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail : sangtakieng@gmail.com phone 093 7719222
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) : ฝึกอบรม สัมมนา
อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน 
e-mail : sangtakieng@gmail.com  phone 093 7719222

การควบคุมของตกจากที่สูงและวิธีปิดกั้นพื้นที่ทำงาน
 
อันตรายจากที่สูงต้องครอบคลุมการป้องกันคนตก ป้องกันของตกและการพังทลายของโครงสร้างเนื่องจากโหลดที่มากเกินพิกัดของโครงสร้างนั้น ขอบเขตของเอกสารไม่ได้กล่าวถึงการพังทลายของโครงสร้าง หากแต่จะกล่าวเพียงวิธีป้องกันของตกและวิธีปิดกั้นควบคุมพื้นที่เท่านั้น 

วิธีป้องกันของตก fall object prevention 
 
งานปฏิบัติการภาคสนาม ให้พิจารณาวิธีควบคุมของตกออกเป็นสองลักษณะคือของน้ำหนักเบาพกไปกับตัวได้และลักษณะที่สองคือของหนักหรือของที่สามารถยกได้ด้วยแรงคนแต่รูปทรงไม่สะดวกที่จะพกพกไปกับตัว มาตรการควบคุมของตกมีแนวปฏิบัติดังนี้ 
 
  • นำขึ้นไปที่สูง ของน้ำหนักเบาและสะดวกที่จะพกไปกับตัวให้ใส่ในซองกะทัดรัด ซึ่งซองนั้นถูกรัดคล้องกับกับชุดเข็มขัด สายสะพายหรืออื่นใดที่กระชับและไม่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ ตัวอย่างเช่น ตะปู ริเวท น๊อตโบลท์ขนาดเล็ก ค้อน ประแจ นำขึ้นที่สูงโดยใส่ซอง เป็นต้น ภาพจากอเมซอน.ดอทคอม, pinterest.com และจากเว็ปไซด์ thatshirt.com 
 
 
 
  • การขนย้ายของหนักหรือของที่สามารถยกได้ด้วยแรงคน แต่ลักษณะรูปร่างของนั้นไม่สะดวกที่จะพกไปกับตัว ให้ใช้เครื่องกลผ่อนแรงเช่น รอกไฟฟ้า รอกสาวมือ รอกเดี่ยว รอกพวง สายพานลำเลียงหรือลิฟท์ขนของ ฯลฯ
  • การวางของเล็กน้ำหนักเบาบนพื้นเพลทฟอร์ม ให้ใส่ถุงหรือใส่ในถังและวางไว้ด้านในแผ่นกันของตก ในกรณีเพลทฟอร์มนั้นไม่มีขอบกันของตก ให้ยึดผูกหรือมัดภาชนะสำหรับใส่ชิ้นงานกับโครงสร้างหลัก ซึ่งการมัดยึดภาชนะดังกล่าวต้องมั่นคงแข็งแรง
  • การใช้เครื่องมือช่าง hand tools บนที่สูง ให้มีสายมัดเครื่องมือนั้นไว้กับตัวหรือจะผูก มัดหรือยึดไว้กับโครงสร้างของเพลทฟอร์มก็ได้ 

การขนย้ายโดยใช้เครื่องกลผ่อนแรงเช่นเครน รอกไฟฟ้า รอกสาวมือ รอกเดี่ยว รอกพวง ต้องมีแผนขนย้าย lifting plan or handling plan ซึ่งแผนขนย้ายหากจะคิดง่ายๆ ก็เป็นเพียงมาตรการเชิงบริหารจัดการเท่านั้น (administrative method) หากแต่เป็นกระบวนการคิดที่นำไปสู่มาตรการป้องกันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและนั้นหมายถึงความปลอดภัยจากการทำงานที่จะตามมา ดังนั้นงานวิศวกรรมความปลอดภัยจึงให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ห้าองค์ประกอบของแผนขนย้าย
  • หนึ่ง การเตรียมการ
  • สอง ยึดเกาะอุปกรณ์ช่วยยกกับโหลด
  • สาม ยกโหลดสูงจากพื้นประมาณ ๑๐ เซนติเมตรเพื่อตรวจสอบสภาวะยึดเกาะ
  • สี่ ห้าและหกคือยกโหลดให้ได้ระดับขนย้าย ย้ายและวางโหลด 
 
 
 
การเตรียมการคือการทบทวนหรือตรวจสอบยืนยันความพร้อมให้ครบทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับงานขนย้าย องค์ประกอบแรกคือคน ต้องพิจารณาตรวจสอบความรู้ ความสามารถและคุณสมบัติต้องพร้อมทำงานตามภารกิจ องค์ประกอบที่สอง เครื่องมือ เครื่องมือกล เครน ฯลฯ และอุปกรณ์ช่วยยกซึ่งต้องใช้ยึดเกาะสิ่งของ องค์ประกอบที่สามการปิดกั้น ควบคุมพื้นที่ขนย้ายและองค์ประกอบสุดท้ายคือพื้นที่วางโหลด 
 
วิธียึดเกาะโหลดถูกต้องตามหลักการทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัย นอกจากอุปกรณ์ช่วยยกจะไม่แตก หัก พังหรือชำรุดจากการทำงานแล้ว ต้องมีภาวะสมดุลขณะยก ย้ายและวางด้วย
 
ยกโหลดครั้งที่หนึ่งสูงจากพื้นประมาณ ๑๐ เซนติเมตรและหยุด ๑-๒ นาที เพื่อตรวจสอบความสมดุลของโหลดและหน่วงเวลาทดสอบการรับแรงของอุปกรณ์ยึดเกาะว่ามีการขยับไปจากเดิมหรือไม่ หากเกิดเหตุที่ลำดับนี้จะมีผลกระทบต่ำกว่าการเกิดเหตุเมื่อโหลดถูกยกไปที่ระดับสูงแล้ว หากยกโหลดแนวดิ่งขึ้นลงก็ให้ทำต่อไปจากลำดับนี้ได้เลย แต่ถ้าต้องยกตามแนวราบก็ให้ปรับให้ได้ระดับที่จะขนย้ายและทำงานขนย้ายในลำดับถัดไป
 
ย้ายและวางโหลดตามเงื่อนไขของงาน 

การปิดกั้นและควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน working area barricading
 
มาตรการที่ดีกว่าคือมาตรการป้องกันของตก (fall prevention) หากมาตรการดังกล่าวมีความผิดพลาดและเกิดเหตุของตกลงไปด้านล่าง กระบวนการคิดเชื่อมโยงต่อไปคือต้องไม่โดนคน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีปิดกั้นควบคุมพื้นที่ทำงานเป็นมาตรการร่วมด้วย 
 
ในแง่มุมของกฎหมาย กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พุทธศักราช ๒๕๕๒ ให้คำกำจัดความไว้ว่าเขตอันตราย หมายความว่าบริเวณที่เป็นสถานที่ที่กําลังก่อสร้าง ที่ติดตั้งนั่งร้าน ใช้ปั้นจั่นหรือใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อการก่อสร้าง พื้นที่ทีเป็นนทางลําเลียงวัสดุเพื่อการก่อสร้างหรือพื้นที่ที่ใช้เป็นสถานที่เก็บเชื้อเพลิง  วัตถุระเบิดหรือวัสดุก่อสร้างและหมายความรวมถึงการต่อเติม ซ่อมแซม ซ่อมบํารุง  ดัดแปลง  เคลื่อนย้าย หรือการรื้อถอนทำลายสิ่งก่อสร้างนั้นด้วย  
 
เขตอันตรายต้องพิจารณาปิดกั้นควบคุมพื้นที่รอบทิศทาง หมายความว่าให้พิจารณาอันตรายที่อาจเกิดจากด้านบน ด้านล่าง ซ้ายขวา ด้านหน้าและด้านหลัง หลังจากนั้นให้ปิดกั้นควบคุมพื้นที่โดยใช้แถบกั้น ธงริ้ว รั้วแข็ง แบริเออร์ สัญลักษณ์ความปลอดภัยต่างๆ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างร่วมกันก็ได้ อุปกรณ์ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ทำงานจะกล่าวถึงบางตัวอย่างดังต่อไปนี้ 
 
หนึ่ง ตาข่ายกันของตก safety net เป็นอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้าง งานซ่อมบำรุง สำหรับป้องกันของตกจากที่สูง ผลิตจากโพลีเอสเตอร์ หรือโพลีเอทิลีน (polyethylene HDPE) เป็นระบบถักทอแบบรัชเซลเน็ทซึ่งสามารถกระจายการรับน้ำหนักได้ดี ส่วนประกอบการติดตั้ง  
 
  • เส้นใยโพลีเอสเตอร์แบบใช้เป็นตาข่ายกันของตก
  • เชือกขอบหรือเชือก main safety net ผลิตจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ขนาดเชือกเส้นผ่านศูนย์กลาง ๙ มิลลิเมตร โดยทุกระยะไม่เกินสามเมตร จะมีเชือกหูความยาวหนึ่งเมตร ทิ้งออกมาเพื่อผูกมัดกับโครงสร้างของโรงเรือน ภาพประกอบจากเว็ปไซด์ temco.co.th และแบริเออร์ซีเมนต์หล่อจาก klickbm.com 
 
 
 

สอง แบริเออร์และรั้วแข็ง hard barricade ปกติอุปกรณ์จะออกแบบให้สีโทนสว่างสะท้อนแสงตรงกับรหัสสีด้านความปลอดภัยเช่นเหลืองดำ ขาวแดง ในกรณีที่ไม่มีสีแสดงรหัส สามารถใช้แถบกั้นขึงพันแนบกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้ 
แบริเออร์ความสูงมาตรฐาน ขั้นต่ำ ๙๐ เซนติเมตรความสูงที่ใช้กันมากที่สุด ๙๐-๑๑๐ เซนติเมตร การผลิตส่วนมากจะคำนึงถึงสามองค์ประกอบคือต้องเป็นวัสดุที่มีความทนทาน ต้นทุนต่ำและเหมาะสมกับการใช้งานตัวอย่างเช่น แบริเออร์ซีเมนต์หล่อ แบริเออร์พลาสติกกลวงมีช่องเติมน้ำ แบริเออร์แผ่นโลหะติดล้อเลื่อน แบริเออร์แผ่นโลหะแบบสแตนขาตั้ง ฯลฯ เป็นต้น, รั้วแข็ง ความสูงมาตรฐาน ๙๐-๑๑๐ เซนติเมตรหรือจะสูงมากกว่านี้ก็ได้ขึ้นอยู่กับผลการประเมินความเสี่ยง รั้วแข็งอาจจะสร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ ตามสภาพใช้งาน
 
  • ติดตั้งกึ่งถาวรโดยยึดโครงสร้างกับพื้นและใช้แผ่นโลหะหรือผ้าใบแบบหนาขึงปิด หากเป็นไซด์งานก่อสร้างต้องสูงขั้นต่ำสองเมตร
  • รั้วแบบท่อและแคลมป์ โดยใช้อุปกรณ์ของนั่งร้านท่อประกอบมาประยุกต์ใช้และยึดติดตั้งเป็นรั้วแข็ง
  • รั้วแข็งล้อเลื่อน จะสร้างขึ้นที่ระดับความสูงตามมาตรฐาน ให้สีสะท้อนแสงเหลืองดำหรือขาวแดงตามความต้องการของผู้ใช้ ความยาวต่อหนึ่งชิ้นประมาณเมตรครึ่งถึงสองเมตร จะใช้งานแบบรั้วแข็งล้อเลื่อนทั่วๆ ไป หรือจะติดตั้งป้ายความปลอดภัย (safety sign) ร่วมด้วยก็ได้
  • รั้วแข็งประดิษฐ์ รั้วแข็งประดิษฐ์แม้จะมีความสูงและขนาดต่างๆ ตามมาตรฐาน แต่ลักษณะภายนอกทางกายภาพอาจแตกต่างกันออกเป็นตามสภาพงานที่มีลักษณะจำเพาะ ตัวอย่างเช่นรั้วแบบขากรรไกรหนีบเข้าออก รั้วตกแต่ง ฯลฯ เป็นต้น  
 
โดยทั่วไปของหลักการทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัย รั้วแข็งหรือแบริเออร์ที่ไม่ใช้แบบซีเมนต์หล่อให้ใช้ปิดกั้นควบคุมพื้นที่โดยรอบของจุดทำงานประมาณ ๒ เมตร หากพื้นที่คับแคบกว้างไม่ถึงระยะสองเมตร แนะนำให้ใช้แบริเออร์ซีเมนต์หล่อแทน จะอย่างไรก็ตาม ระยะติดตั้งแบริเออร์และรั้วแข็งมักจะมีหลายเงื่อนไขเข้ามาเกี่ยวข้อง ตามหลักคิดที่ว่าสภาพงานหรือกระบวนทำงานต่างกัน อันตรายที่อาจเกิดก็แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นระยะการติดตั้งแบริเออร์และรั้วแข็งจึงมักใช้การประเมินความเสี่ยงร่วมด้วย  
 
ภาพรั้วประดิษฐ์จากเว็ปไซด์ hmart.mu, แบริเออร์พลาสติกกลวงมีช่องเติมน้ำ อาลีบาบา.ดอทคอม, รั้วแข็งแบบตาข่ายโปร่ง caulfieldindustrial.com และรั้วแบบล้อเลื่อน ภาพจาก officemate.co.th
 

สาม สายเทปปิดกั้นพื้นที่ ธงริ้ว soft barricade ลักษณะภายนอก (ทางกายภาพ) ของอุปกรณ์สองอย่างนี้ อาจแตกต่างกันแต่สื่อความหมายในการควบคุมพื้นที่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เทปขาวแดง เทปแดงสกรีนตัวหนังสือสีดำแดนเจอร์และธงริ้วสามเหลี่ยมปลายปักลงสลับสีขาวแดง มีความหมายว่าอันตรายห้ามเข้า ฯลฯ เป็นต้น ภาพจากเว็ปไซด์ bradyid.com emergencykits.com emedco.com และเว็ปไซด์  elmersflag.com 
 

สี่ สัญลักษณ์ความปลอดภัย ป้ายความปลอดภัย safety sign, สัญลักษณ์ความปลอดภัย ปกติความหมายก็จะรวมถึงป้ายความปลอดภัยอยู่ด้วยแล้ว จากเหตที่คนอุตสาหกรรมบางส่วนเข้าใจคลาดเคลื่อน ณ ที่นี้จึงแตกชื่อออกมาให้เห็นด้วย, สัญลักษณ์ความปลอดภัย อาจแบ่งออกตามลักษณะใช้งานออกเป็นป้ายความปลอดภัย safety sign, ไฟวับวาบ แสงและเสียง warning light and sound alarm ทั้งนี้ต้องสำแดงเชิงสัญลักษณ์สามอย่างเพื่อสื่อสารคือหนึ่งรูปภาพ สองข้อความตัวหนังสือและสามคือรหัสสี ในหนึ่งสัญลักษณ์ความปลอดภัยจะใช้เพียงอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างร่วมกันก็ได้ สำหรับข้อความหากพนักงานในองค์กรมีมากกว่าหนึ่งประเทศ ให้ใช้ข้อความอย่างน้อยสองภาษาคือภาษาของประเทศที่สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่และสองคือภาษาอังกฤษ ส่วนรหัสสีมีความหมายดังนี้
 
  • เหลืองหรือเหลืองดำ เตือนให้ระวังอันตราย
  • แดงหรือแดงขาว อันตราย ห้ามปฏิบัติ
  • น้ำเงินขาว บังคับหมายความว่าต้องปฏิบัติตาม  
 
ตัวอย่างสัญลักษณ์ความปลอดภัย จากเว็ปไซด์ huntoffice.ie safetybuyer.com และจาก amazon.com 
 
 
in summary ดังที่กล่าวถึงข้างต้นว่าขั้นพื้นฐานต้องพิจารณาปิดกั้นควบคุมพื้นที่รอบทิศทาง หมายความว่าให้พิจารณาอันตรายที่อาจเกิดจากด้านบน ด้านล่าง ซ้ายขวา ด้านหน้าและด้านหลัง หลังจากนั้นให้ปิดกั้นควบคุมพื้นที่โดยใช้แถบกั้น ธงริ้ว รั้วแข็ง แบริเออร์ สัญลักษณ์ความปลอดภัยต่างๆ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างร่วมกันก็ได้ หลังจากพิจารณาแล้ว หากบางด้านไม่สามารถเข้าออกได้เช่นติดกับผนังอาคาร หรือด้านบนไม่มีกลุ่มกิจกรรมอื่นทำงานอยู่ ฯลฯ ด้านนั้นก็ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ไปปิดกั้นควบคุมเพิ่มเติมอีก การปิดกั้นและควบคุมพื้นที่จึงให้ทำบนพื้นฐานตามความเป็นจริงเท่านั้น 

ติดต่องานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  ที่ปรึกษาการจัดทำระบบฯ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)  Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com
 

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หนึ่ง (๑.๑) ที่สูง ความเข้าใจเกี่ยวกับงานบนที่สูง : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หนึ่ง (๑.๒) ที่สูง ความเข้าใจเกี่ยวกับงานบนที่สูงคลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่สอง อุปกรณ์ป้องกันการตกระบบสายรั้งและงานเชือกโรยตัว คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สาม อุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สี่ ม้ายืน บันไดและความปลอดภัยการใช้งาน : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่หก (๖.๑) องค์ประกอบความปลอดภัยงานที่สูง และกฎหมาย : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หก (๖.๒) องค์ประกอบความปลอดภัยงานที่สูง และกฎหมาย : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่เจ็ด กระเช้ายกคนด้วยรถเคน HOLD รอ-กำลังพัฒนา : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่ รถกระเช้าและการใช้รถกระเช้าอย่างปลอดภัย : คลิ๊กตรงนี้ 
ไปยังเมนู หลักสูตรที่ฝึกอบรมและสัมมนา คลิ๊กตรงนี้
 

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 65 คน
 สถิติเมื่อวาน 130 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3926 คน
20916 คน
902968 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong