Sangtakieng.com
handling plan
แผนขนย้ายงานปฏิบัติการโฟร์ค-ลิฟท์
 
งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) 
e-mail  sangtakieng@gmail.com   mobile 093 7719222

ลำดับปฏิบัติเพื่อจัดทำแผนขนย้าย
 
1.ตรวจสอบตรวจสภาพโฟร์ค-ลิฟท์ อุปกรณ์ช่วยยกและยืนยันคุณสมบัติของผู้ควบคุมรถฯ
  • ให้ตรวจสอบว่าโฟร์ค-ลิฟท์ และอุปกรณ์ช่วยยกถูกตรวจสอบตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวัน
  • ผู้ควบคุมโฟร์ค-ลิฟท์ผ่านการฝึกอบรม ได้รับอนุญาตให้ควบคุมโฟร์ค-ลิฟท์และเข้าร่วมอบรมทบทวนเพื่อรักษาระดับความสามารถ (Refresher Training) ไม่เกิน 5 ปีปฏิทิน

             

2.กำหนดเส้นทางขนย้ายและปิดกั้น-ควบคุมพื้นที่
  • สำรวจเส้นทางขนย้ายเริ่มแต่จุดเริ่มยก ถึงพื้นที่ซึ่งจะวางชิ้นงาน
  • หากเป็นพื้นที่ซึ่งไม่ได้ออกแบบให้โฟร์ค-ลิฟท์ทำงานโดยเฉพาะ, ให้ปิดกั้นพื้นที่โดยพิจารณาใช้เทปกั้นอันตราย รั้วแข็ง ไฟวับวาบ ป้ายห้าม อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างรวมกัน

Note-พื้นที่ทำงานของโฟร์ค-ลิฟท์ต้องเป็นพื้นที่บดอัดหรือไม่ทรุดตัว ไม่อนุญาตให้ใช้โฟร์ค-ลิฟท์บนพื้นที่อ่อนยุบตัว หรือพื้นที่ซึ่งสงสัยว่าอาจยุบตัวโดยเด็ดขาด

3.วางแผนสมดุลชิ้นงานบนงายก
  • ปรับงายก กว้างแคบให้เหมาะสมกับขนาดชิ้นงาน
  • ชิ้นงานทรงเหลียมที่มีความสูงมากกว่า 3 เท่าของฐานส่วนที่แคบสุด (Toppling Ratio), ให้ยึดตรึงชิ้นงานกับแผงงาโดยใช้เชือก สลิงผ้าใบหรืออุปกรณ์ยึดตรึงที่ออกแบบโดยตรงเพื่อยึดตรึงชิ้นงาน
  • กรณีเป็นชิ้นงานขนาดเล็กให้พิจารณาใช้ถังเหลี่ยมหรือพาเลทรองรับชิ้นงานเพื่อให้สะดวกกับการขนย้ายด้วยโฟร์ค-ลิฟท์

วางแผนการทำงานร่วมในพื้นที่เดียวกันร่วมกับคนหรือจักรกลเคลื่อนที่อื่น
  • ห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่
  • ห้ามไม่ให้จักรกลเคลื่อนที่ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่
  • ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องและผู้ควบคุมจักรกลเคลื่อนที่อื่นซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ให้เข้าร่วมประชุมสั้นๆ (Tool Box Meeting) ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน
  • กำหนดพื้นที่ยืนปฏิบัติงานของผู้เกี่ยวข้อง
  • กำหนดมาตรการควบคุมอุบัติเหตุ

ยกและย้ายชิ้นงาน
  • ควบคุมฯ ยกชิ้นงานช้าๆ ให้สูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร และสังเกตความมั่นคงของชิ้นงาน หากโยกสั่นให้หยุด, วางชิ้นงานลงและยึดตรึงใหม่ให้มั่นคง
  • ปรับเสาโฟร์ค เอนหลังเพื่อให้ชิ้นงานกระชับการแผงงาและย้ายไปยังพื้นที่ซึ่งต้องการ
  • การย้ายชิ้นงาน หากผ่านพื้นที่ดังต่อไปนี้ให้ลดความเร็วลงและผู้ควบคุมรถฯ ต้องเพิ่มความระมัดระวัง : ตัดผ่านทางเดินเท้า ทางแยกทางร่วม มุมเลี้ยวซึ่งมีกำแพงทึบปิดกั้นการมองเห็น (ลดความเร็ว-เพิ่มความระมัดระวัง-และใช้สัญญาณแตร) ทางผ่านคับแคบ ทางลาดชัน ทางหลุมบ่อ เข้าในพื้นที่ซึ่งมีคนทำงานห่างจากทางวิ่งน้อยกว่า 5 เมตรหรือสภาวะอื่นใดซึ่งเทียบเคียงกับที่กล่าวถึงนี้


วางชิ้นงาน
  • ควบคุมรถฯ ให้ได้แนวตรงกับตำแหน่งที่จะวาง
  • เดินหน้าเข้าหาตำแหน่งที่จะวางและชลอก่อนถึงประมาณ 50 เซนติเมตรม, หยุดเพื่อปรับเสาโฟร์คดิ่งและปรับระดับให้สูงกว่าตำแหน่งที่จะซ้อนวางประมาณ 30 เซนติเมตร, เดินหน้าถึงตำแหน่งที่จะวาง
  • วางชิ้นงานและถอยออกให้เลยปลายงา

งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ-ระเบียบปฏิบัติ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้

กลับเมนูหลัก การใช้โฟร์ค-ลิฟท์อย่างปลอดภัย : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู วิธีตรวจสภาพโฟร์ค-ลิฟท์ก่อนใช้งานประจำวัน : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู วิธีลดภาวะเสี่ยงและวิธีควบคุมอันตรายในงานโฟร์ค-ลิฟท์ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การตรวจติดตามความปลอดภัย Safety Audits : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู วิธีฝึกภาคสนาม ซ้อนวางชิ้นงานแบบซิกแซกสลับฟันปลา : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การทบทวนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบ : คลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 26 คน
 สถิติเมื่อวาน 111 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2187 คน
23518 คน
905570 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong