Sangtakieng.com
risk management in forklift operations
วิธีลดภาวะเสี่ยงและวิธีควบคุมอันตรายในงานโฟร์ค-ลิฟท์
 
งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)
e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222 

1.เทคนิควิธีการแรก : ห้ามโฟร์ค-ลิฟท์เข้าพื้นที่หรือปฏิเสธการใช้โฟร์ค-ลิฟท์ (Elimination)
 
  • ห้ามโฟร์ค-ลิฟท์เข้าพื้นที่หรือปฏิเสธการใช้โฟร์คลิฟท์
  • ออกแบบทางเดิน หรือห้ามพนักงานเข้าไปในพื้นที่การทำงานของโฟร์คลิฟท์

2.เทคนิควิธีการที่สอง : ใช้จักรกลขนถ่ายอื่นที่เหมาะสมกับลักษณะงานมากกว่า แทนการใช้โฟร์คลิฟท์ (Substitution)-กระบวนการทำงานที่เปลี่ยนไป อันตรายที่อาจเกิดก็เปลี่ยนไปด้วย ฉะนั้นการเลือกที่จะเปลี่ยนวิธีการทำงาน ต้องคำนึงถึงการลดอุบัติเหตุด้วย

3.เทคนิควิธีการที่สาม : ควบคุมเพื่อแยกการทำงาน (Separation Control)
 
  • ศึกษาและปรับเปลียนทางเดินภายในหน่วยงาน ไม่ให้เดินผ่านพื้นที่ทำงานของโฟร์คลิฟท์
  • ต้องไม่อนุญาตหรือต้องมีวิธีควบคุม ไม่ให้โฟร์คลิฟท์เข้าไปในพื้นที่ทำงานของคนหรือเข้าไปบนพื้นที่ทางเท้า
  • วางแผนให้คนปฏิบัติงานกับโฟร์ค-ลิฟท์ปฏิบัติงานในพื้นที่เดียวกันต่างเวลากัน ทั้งนี้ให้บ่งชี้ว่าพื้นที่ใดบ้างที่อาจได้รับอันตรายจากโฟร์ค-ลิฟท์และกำหนดให้ทำงานที่เวลาแตกต่าง
  • ปิดกั้นหรือวางแนวควบคุม แบ่งแยกการทำงานระหว่างคนกับโฟร์คลิฟท์,  
    Note-ในบางลักษณะงาน, การแบ่งแยกฯ ไม่จำเป็นต้องใช้รั้วแข็งเสมอไป เพียงแต่การขีดสีตีเส้นเพื่อควบคุมเขตเข้าพื้นที่ ก็เพียงพอ
     
  • สำหรับงานที่ทำเป็นครั้งคราว ให้ใช้อุปกรณ์ปิดกั้นพื้นที่เป็นการชั่วคราว ซึ่งการปิดกั้นดังกล่าวต้องมีระยะห่างที่ปลอดภัยระหว่างคนกับโฟร์คลิฟท์
  • กำหนดและบริหารจัดการเส้นทางทำงานโฟร์คลิฟท์ให้เป็นระบบ เช่นกำหนดให้เดินโฟร์ค ลิฟท์แบบทางเดียว หรือแบ่งเส้นทางขนถ่ายของโฟร์คลิฟท์ไม่ให้ใช้ร่วมกับโฟร์คลิฟท์คันอื่น ยานพาหนะอื่นหรือจักรกลหนักขนถ่ายอื่นๆ
  • ใช้รั้วแข็งปิดกั้นระหว่างพื้นที่ทำงานของโฟร์คลิฟท์กับทางเท้าหรือระหว่างโฟร์คลิฟท์กับทางข้าม

        
 
  • ออกแบบพื้นที่ของหน่วยงานให้แยกออกจากกัน ระหว่างตึกสำนักงาน โรงจอดรถหรือโรงอาหาร กับพื้นที่ทำงานของโฟร์ค-ลิฟท์
  • ออกแบบและแสดงพื้นที่ทำงานของโฟร์ค-ลิฟท์ ไว้ในเอกสารสนับสนุนฯ หรือแสดงไว้เป็นผังการทำงานโฟร์ค-ลิฟท์ แจ้งให้พนักงานทราบ เพื่อให้เลี่ยงที่จะเข้าไปในพื้นที่การทำงานของโฟร์ค-ลิฟท์

4.เทคนิควิธีการที่สี่ : ควบคุมอุบัติเหตุโดยวิธีทางวิศวกรรม (Engineering Controls or Engineering a Solution)
 
  • ทาสีทางข้ามด้วยสีโทนสว่าง หากสีเก่าคร่ำคร่าให้ทาสีใหม่เพื่อให้มองเห็นชัดเจน
  • โฟร์ค-ลิฟท์ต้องถูกรักษาสภาพตามข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิต และเป็นไปตามกฏหมายของประเทศ
  • ตัวโฟร์ค-ลิฟท์ ต้องเป็นสีโทนสว่างและมีสัญญาณไฟวับวาบหรือสัญญาณเสียงเตือน เช่นสัญญาณไฟถอย ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานทราบว่าโฟร์ค-ลิฟท์กำลังทำงานอยู่ 
  • ติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบประเภทกระจก หรืออุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์เพื่อช่วยให้คนขับทราบว่ามีคนหรือสิ่งกีดขวางบนเส้นทางที่จะเลี้ยวซ้ายขวาหรือถอยหลัง
  • ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความเร็ว เพื่อควบคุมไม่ให้เกินความเร็วที่หน่วยงานกำหนด
  • จัดทำทางเดิน ติดตั้งรั้วแข็ง ประตูแผงป้องกันอันตราย ป้ายเตือนป้ายห้ามและอุปกรณ์เหล่านี้ต้องทาด้วยสีโทนสว่าง
  • พ่นแถบคาดเฉียงสลับสี ซึ่งเป็นสีที่แตกต่างไปจากตัวรถ เมื่อเมื่อโฟร์คลิฟท์ต้องเข้าไปทำงานในพื้นที่ซึ่งอุปกรณ์รอบๆ คล้ายกับสีโฟร์คลิฟท์จะทำให้สังเกตได้ง่าย มองแยกได้ง่าย ไม่กลมกลืนไปกับภาวะแวดล้อมโดยรอบ
 
           

  • ติดตั้งกระจกโค้งหรือรั้วกั้นป้องกันอันตรายที่มุมอับ มองเห็นยากลำบาก
  • หากภายในอาคาร ต้องคำนึงถึงระบบแสงสว่างและการระบายอากาศให้เหมาะกับสภาพการทำงาน หากมีกฏหมายหรือมาตรฐานกำหนด ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้น

เทคนิควิธีการที่ห้า : ควบคุมอุบัติเหตุโดยวิธีบริหารจัดการ (Administrative Controls)
 
  • ให้พนักงานขับฯ ตรวจสอบตรวจสภาพก่อนใช้โฟร์ค-ลิฟท์ประจำวัน และบันทึกในใบตรวจสอบตรวจสภาพ 
  • ช่วงเช้าและช่วงเย็น หากแสงแดดส่องเข้าตาพนักงานขับฯ ให้ปรับทิศทางปฏิบัติงานของโฟร์ค-ลิฟท์ ให้เหมาะสมกับการขนย้าย
  • พนักงานขับโฟร์ค-ลิฟท์ต้องผ่านการฝึกอบรม ประเมินผลเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ ก่อนอนุญาตให้ใช้โฟร์ค-ลิฟท์ในสถานที่ทำงาน และต้องอบรมทบทวนเพื่อรักษาระดับความสามารถ
  • ให้ทำประเมินความเสี่ยงและควบคุมอันตรายที่อาจเกิดจากการใช้โฟร์ค-ลิฟท์
 
            


  • งานปฏิบัติการซึ่งต้องทำในพื้นที่เดียวกัน ให้ร่วมพูดคุยหรือประชุมสั้นๆ (tool box meeting) ก่อนเริ่มงาน
  • งานปกติปฎิบัติ (routine) ให้จัดทำเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ คู่มือคำแนะนำ ฯลฯ หากเป็นงานที่มีขั้นตอนการทำงานซับซ้อนหรือเสี่ยงอันตรายและทำเป็นครั้งคราว (one off job) ให้ทำประเมินความเสี่ยง
  • กำหนดให้ตรวจติดตามทางด้านความปลอดภัย รายงานอุบัติเหตุ รายงานอุบัติการณ์ระดับ near miss และสืบค้นสาเหตุเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
  • แต่งตั้งให้มี คณะอนุกรรมการทำงานเพื่อศึกษาและพัฒนาเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในการใช้โฟร์ค-ลิฟท์
  • ตรวจรักษาสภาพ และซ่อมบำรุงตามระยะเวลาตามคู่มือประจำรถ
  • กำหนดจุดจอดที่มองเห็นได้ชัดเจน ไม่กีดขวางทางสัญจรหรือเส้นทางขนถ่ายวัสดุ สินค้าหรือกระบวนการทำงาน
  • ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้อง เข้าพื้นที่การทำงานของโฟร์ค-ลิฟท์

งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  ที่ปรึกษาจัดทำระบบ-ระเบียบปฏิบัติ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนูหลัก การใช้โฟร์ค-ลิฟท์อย่างปลอดภัย : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู วิธีตรวจสภาพโฟร์ค-ลิฟท์ก่อนใช้งาน : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู แผนขนย้ายงานปฏิบัติการโฟร์ค-ลิฟท์ Handling Plan : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การตรวจติดตามความปลอดภัย Safety Audits : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู วิธีฝึกภาคสนาม ซ้อนวางชิ้นงานแบบซิกแซกสลับฟันปลา : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การทบทวนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบ : คลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 342 คน
 สถิติเมื่อวาน 130 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4203 คน
21193 คน
903245 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong